หน้าเว็บ

หนุมานประสานกาย


หนุมานประสานกาย
หนุมานประสานกาย


ชื่อสามัญ Edible-stemed Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ Schefflera leucantha R.Vig. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Schefflera kwangsiensis Merr. ex H.L.Li, Schefflera tamdaoensis Grushv. & Skvortsova, Schefflera tenuis H.L.Li) จัดอยู่ในวงศ์เล็บครุฑ (ARALIACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ  ว่านอ้อยช้าง (เลย), ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง (จีน) เป็นต้น
ลักษณะของหนุมานประสานกาย
ต้นหนุมานประสานกาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่ม ที่มีลำต้นสูงประมาณ 1-4 เมตร ผิวของลำต้นค่อนข้างเรียบเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง และเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง
ต้นหนุมานประสานกาย
ใบหนุมานประสานกาย ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 7-8 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปยาวรี รูปวงรี หรือรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมีหูใบซึ่งจะติดอยู่กับก้านใบพอดี ส่วนริบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร พื้นผิวใบเรียบเป็นมัน ส่วนก้านใบย่อยยาวได้ประมาณ 8-25 มิลลิเมตร
ใบหนุมานประสานกาย
ดอกหนุมานประสานกาย ออกดอกเป็นช่อ ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว ลักษณะของดอกย่อยเป็นดอกสีเขียวหรือสีนวลและมีขนาดเล็ก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร
ดอกหนุมานประสานกาย
ผลหนุมานประสานกาย ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ อวบน้ำ ขนาดของผลมีความกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่เต็มที่หรือสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด
ผลหนุมานประสานกาย


สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นหนุมานประสานกาย คลิกที่นี่


เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “หนุมานประสานกาย”.  หน้า 818-819.
2.หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “หนุมานประสานกาย”.  หน้า 185.
3.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “หนุมานประสานกาย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/. [15 ก.ค. 2014].
4.สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.  “หนุมานประสานกาย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: aidsstithai.org/herbs/.  [15 ก.ค. 2014].
5.ผู้จัดการออนไลน์.  “ยกหนุมานประสานกายแจ๋ว! นำร่องสินค้าสมุนไพรไทยสู้หวัด”. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th.  [15 ก.ค. 2014].
6.ไทยโพสต์.  “หนุมานประสานกาย แก้ไอ เจ็บคอ หอบหืด สมานแผล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaipost.net.  [15 ก.ค. 2014].
7.เทศบาลเมืองทุ่งสง.  “หนุมานประสานกาย”  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com.  [15 ก.ค. 2014].
8.สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๗, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่).  “หนุมานประสานกาย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:http://www.oocities.org/thaimedicinecm/.  [15 ก.ค. 2014].
9.หนังสือคู่มือยาสมุนไพร และโรคประเทศเขตร้อนและวิธีบำบัดรักษา.  (พ.ต.อ.ชลอ อุทกภาชน์).  “หนุมานประสานกาย”.
10. medthai.com. “ 22 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหนุมานประสานกาย “ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/หนุมานประสานกาย/ [20/04/2019]
ภาพประกอบ : www.pharmacy.mahidol.ac.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น