หน้าเว็บ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ
ว่านตีนตะขาบกับต้นตะขาบหินเป็นพรรณไม้คนละชนิดกัน แต่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน (POLYGONACEAE) บางแห่งก็มีเรียกชื่อที่เหมือนกัน จึงมักทำให้คนต่างถิ่นเกิดความสับสน โดยลักษณะลำต้นของพรรณไม้ทั้งสองชนิดนี้ถ้าหากดูตามรูปประกอบก็จะเห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีความคล้ายคลึงเหมือนตะขาบทั้งสองต้น ส่วนในด้านของสรรพคุณทางยาสมุนไพรนั้นก็มีความคล้ายคลึงกันครับ แต่ต้นตะขาบหินจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าว่านตีนตะขาบ ซึ่งในบทความนี้ผมจะกล่าวถึงลักษณะและสรรพคุณทางยาของพรรณไม้ทั้งสองชนิดนี้ในคราวเดียวกันเลยครับ

ว่านตีนตะขาบ (ยังไม่ทราบชื่อวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัด) จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)


สมุนไพรว่านตีนตะขาบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), เพว (กรุงเทพฯ), ตะขาบปีนกล้วย ต้นตีนตะขาบ (ไทย) เป็นต้น

ลักษณะของว่านตีนตะขาบ

ต้นว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ
ต้นว่านตีนตะขาบ

ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ
ตีนตะขาบ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของว่านตีนตะขาบ คลิกที่นี่

แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  “ว่านตีนตะขาบ”.  หน้า 712-713.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “ตะขาบหิน (Ta Khap Hin)”.  หน้า 120.
3. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “ตะขาบหิน”.  อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [20 ส.ค. 2014].
5. หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5.  “ตะขาบหิน”.
6. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ตะขาบบิน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  [20 ส.ค. 2014].
7. ไทยโพสต์.  “ว่านตีนตะขาบ-ตะขาบบิน มีฤทธิ์ถอนพิษตะขาบ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaipost.net.  [20 ส.ค. 2014].
8. Medthai.co “9 สรรพคุณและประโยชน์ของว่านตีนตะขาบ”  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ว่านตีนตะขาบ [18/04/2019]
9. ภาพประกอบ : www.biogang.net (by mouse), www.phargarden.com (by Sudarat Homhual)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น