ชื่อสามัญ Vietnamese coriander
ชื่อวิทยาศาสตร์ Polygonum odoratum Lour.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Persicaria odorata (Lour.) Soják
จัดอยู่ในวงศ์ผักไผ่ (POLYGONACEAE)[10]
สมุนไพรผักแพว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกม้า พริกม่า (นครราชสีมา), หอมจันทร์ (อยุธยา), ผักไผ่ (ภาคเหนือ), ผักแพว (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จันทน์โฉม, จันทน์แดง, ผักไผ่น้ำ, ผักแพ้ว, ผักแพรว, ผักแจว, พริกบ้า, หอมจันทร์ เป็นต้น
ลักษณะของผัวแพว
- ต้นผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะ ๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ
- ใบผักแพว มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอกหรือรูปหอกแกมรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5.5-8 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่แต่บางกว่า ขอบใบเรียบ ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ก้านใบสั้นมีหู ใบลักษณะคล้ายปลอกหุ้มรอบลำต้นอยู่บริเวณเหนือข้อของลำต้น
- ดอกผักแพว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยขนาดเล็กสีขาวนวลหรือชมพูม่วง
- ผลผักแพว ผลมีขนาดเล็กมาก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของผักแพว คลิกที่นี่
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
- ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก www.foodnetwork.com. [12 ต.ค.
2013].
- วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th)
- ไทยรัฐออนไลน์.
"ผลวิจัยพบผักพื้นบ้านไทยคุณค่าเพียบ". (นพ.สมยศ ดีรัศมี). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [12 ต.ค. 2013].
- หนังสือผักพื้นบ้านต้านโรค. (พญ.ลลิตา ธีระสิริ).
- ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดลำพูน. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.haec05.doae.go.th. [12 ต.ค. 2013].
- บ้านมหาดอตคอม.
"ผักแพว". piboon.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.baanmaha.com. [12 ต.ค. 2013].
- "ผักแพว ผักพื้นบ้านรสแซ่บ
ลดอ้วนแต่ไม่ลดสารอาหาร". (จำรัส
เซ็นนิล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [12 ต.ค. 2013].
- ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม.
"ผักพื้นบ้านผักแพว".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [12 ต.ค. 2013].
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ผักไผ่น้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [31 ส.ค. 2015].
- medthai.com. “ผักแพว สรรพคุณและประโยชน์ของผักแพว 34 ข้อ ! (ผักไผ่)”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ผักแพว/ [15/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น