หน้าเว็บ

เก๊กฮวย



เก๊กฮวย ภาษาอังกฤษ Chrysanthemum มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์หลักที่ใช้เป็นยาได้แก่ ดอกเก๊กฮวยสีขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel.) หรือ Chrysanthemum morifolium Ramat. และดอกเก๊กฮวยสีเหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema indicum L.) หรือ Chrysanthemum indicum L. สำหรับสายพันธุ์อื่นก็เช่น ดอกเก๊กฮวยป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendranthema boreale (Makino) Ling) โดยคุณสมบัติเด่นของเก๊กฮวยก็คือ มีกลิ่นฉุน มีรสขมและรสหวาน มีฤทธิ์เป็นยาเย็น

เก๊กฮวย เป็นพืชดั้งเดิมของประเทศจีนและญี่ปุ่น แต่ภายหลังได้แพร่กระจายไปทั่วในประเทศกัมพูชา ลาว รวมถึงบ้านเราด้วย ซึ่งจะเพาะปลูกได้ดีในพื้นที่สูงของประเทศ โดยมีการจำหน่ายเป็นดอกสด สำหรับดอกเก๊กฮวยที่นำมาใช้ควรเป็นดอกสีขาวหรือดอกสีเหลือง และไม่ใช่สายพันธุ์ที่เก็บมาจากในป่าเพราะอาจเป็นคนละชนิดกัน

ดอกเก๊กฮวย มีสารพวกฟลาโวนอยด์ (Flavonoid), สารไครแซนทีมิน (Chrysanthemin), สารอะดีนีน (Adenine), สตาไคดวีน (Stachydrine), โคลีน (Choline) กรดอะมิโน และน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว !

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของเก๊กฮวย คลิกที่นี่


แหล่งข้อมูล :
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, เดลินิวส์ออนไลน์, รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด (หนังสือพิมพ์ไทยนิวส์ ฉบับวันพุธที่ 2 มกราคม 2556)
2. Medthai.co “เก๊กฮวย สรรพคุณและประโยชน์ของเก๊กฮวย 26 ข้อ !”  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/เก๊กฮวย/ [18/04/2019]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น