หน้าเว็บ

รางแดง



ชื่อสามัญ            รางแดง
ชื่อท้องถิ่น          ก้องแกบ เขาแกลบ เห่าดำ ฮองหนัง ฮ่องหนัง (เลย), ปลอกแกลบ (บุรีรัมย์), เถามวกเหล็ก เถาวัลย์เหล็ก (สระบุรี), กะเลียงแดง (ชลบุรี-ศรีราชา), แสงอาทิตย์ แสงพระอาทิตย์ ซอแพะแหล่โม (กะเหรี่ยง), ตะแซทูเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), กะเหรี่ยงแดง, โกร่งเคอ, เคือก้องแกบ, เถาวัลย์, ย่านอีเหล็ก, เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์  Ventilago denticulata Willd. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ventilago calyculata Tul.)
ชื่อวงศ์                RHAMNACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


ต้นรางแดง : จัดเป็นไม้เถายืนต้นกึ่งพุ่ม มักเลื้อยตามต้นไม้และกิ่งไม้ เถาเป็นสีเทา ผิวของลำต้นหรือเถาเป็นรอยแตกระแหงเป็นร่องสีแดงสลับ ทำให้เกิดเป็นลวดลายที่สวยงาม (ลำต้นเมื่อยังอ่อนจะเป็นรูปทรงกระบอก เมื่อแก่แล้วจะแตกเป็นสีแดง) ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้น ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาบเถา กิ่งชำ กิ่งตอน และใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามป่าโปร่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางจังหวัดสระบุรี ส่วนในกรุงเทพฯ มีการปลูกกันบ้างตามบ้าน


ใบรางแดง : แผ่นใบเป็นสีเขียว ใบคล้ายกับใบเล็บมือนางหรือกะดังงาไทย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ยาว รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นจักตื้น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร ส่วนก้านใบสั้น เมื่อนำใบมาผิงไฟเพื่อทำยาจะมีกลิ่นคล้ายกับแกลบข้าว


ดอกรางแดง : ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายยอด ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีเขียวแกมเหลืองหรือสีเขียวอมขาว

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของรางแดง คลิกที่นี่

แหล่งอ้างอิง
  1. ฐานข้อมู,สมุนไพรไทย จังหวัดอุตรดิตถ์.  “รางแดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: industrial.uru.ac.th/herb/.  [29 พ.ค. 2014].
  2. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  “รางแดง, เถารางแดง , เถาวัลย์เหล็ก”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [29 พ.ค. 2014].
  3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “งวงสุ่ม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [29 พ.ค. 2014].
  4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “Ventilago denticulata Willd.”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [29 พ.ค. 2014].
  5. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่.  “เครือเขาแกบ…พญาดาบหัก”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rakkhaoyai.com.  [29 พ.ค. 2014].
  6. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Dinesh Valke), www.magnoliathailand.com (by nostalgia_cu)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น