หมากสง
ชื่อพื้นเมือง
หมากสง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Areca catechu L.
ชื่อวงศ์ PALMAE (ARECACAE)
ชื่อสามัญ Areca palm, Betel palm, Betel nut
แหล่งกระจายพันธุ์
พบได้ในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แถบมหาสมุทรแปซิฟิกในส่วนที่เป็นเขตร้อน
และบางส่วนของทวีปแอฟริกา
ลักษณะ เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดกลาง
เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 15-20 ซม. สูงถึง 25 ม. ลำต้นเปลาตรง มีปล้องสีขาวเด่นชัด
คอยอดสีเขียว กาบใบยาว ประมาณ 80-100 ซม. ลักษณะเป็นท่อห่อหุ้มคอยอด
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก(pinnate) แผ่นใบยาว
1.5-2 ม. มีใบย่อย 20-30 คู่ ขนาด 30-60 x 3-7 ซม.
ใบย่อยแบบรางน้ำคว่ำ(reduplicate)ปลายตัด
หยักเป็นซี่ เรียงตัวสม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ช่อดอกออกใต้คอยอด(infrafoliar) ตั้งขึ้น ช่อดอกแยกแขนง 3
ชั้นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน บริเวณโคนก้านช่อหรือโคนก้านแขนงจะมีกลุ่มดอก
ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศเมีย 1 ดอก ขนาบข้างด้วยดอกเพศผู้ 2 ดอก(triad) ส่วนตอนปลายก้านแขนง จะมีเฉพาะดอกเพศผู้
ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่ขนาด 4-6 x 7-8 ซม.
ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีส้ม ผลหนึ่งมี 1 เมล็ด
ประโยชน์ เมล็ดช่วยขับปัสสาวะปวดท้องแน่นท้อง บิด
แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิ เปลือกผล ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดแน่น บิด
ท้องเสีย ผลอ่อนช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้เมาอาเจียน ไอ สมานแผล ดอกตัวผู้
เป็นยาหอม บำรุงกระเพาะ แก้กระหายน้ำ
ชาวบ้านนิยมเคี้ยวหมาก โดยนำ เปลือกผลและ เมล็ดอ่อน เคี้ยวร่วมกับพลู
แหล่งอ้างอิง
1.https://sites.google.com/site/swnphvssastrsanpatxngwithyakhm/khi-xmul-phanth-mi/hukwang/hmaksng
[17/04/2562]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น