ชื่อสมุนไพร: สะบ้ามอญ
ชื่ออื่นๆ: มะนิม หมากงิม สะบ้า สะบ้าช้าง มะบ้า มะบ้าหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Entada rheedii Spreng
ชื่อพ้อง: Adenanthera gogo Blanco, Entada gogo (Blanco) I.M.Johnst., E.
monostachya DC., E. pursaetha DC., E. pusaetha DC. [Spelling variant], E.
rheedei Spreng. [Spelling variant], E. scheffleri Ridl., Mimosa entada L.
ชื่อวงศ์: Leguminosae - Mimosoidaea
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นมักคดงอหรือบิดเป็นเกลียว
เปลือกนอกเรียบสีน้ำตาลแก่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น
เรียงตรงข้าม ใบย่อย 3-4 คู่ เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ
กว้าง 1.3-3.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงทู่เล็กน้อย และมักมีติ่งแหลม ก้านใบยาว 4.0-7.6
ซม. มีขนเล็กน้อยกระจายทั่วไป แผ่นใบเกลี้ยง
อาจพบขนโค้งงอเล็กน้อยที่โคนใบและเส้นกลางใบ เส้นใบ 7-11 คู่ ดอกแบบช่อกระจะ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ออกที่ซอกใบ ยาว 18-23
ซม. ก้านช่อดอกยาว 6.5-9.2 ซม. เกลี้ยง
ดอกย่อยขนาดเล็ก 195-237 ดอก ก้านดอกสั้นมาก ยาวประมาณ 0.5
มม. เกลี้ยง ใบประดับ 1 อัน
รูปแถบหรือคล้ายท้องเรือ ยาว 1-2 มม. โคนตัด ปลายแหลม
ขอบเรียบ สีเขียว มีขนเล็กน้อย กลีบรองดอกรูปถ้วย ปากกว้าง หลอดกลีบ กว้างไม่เกิน 0.5
มม. ยาว 1 มม. ปลายแยกแฉกแหลมตื้น
เกลี้ยง สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน รูปรีแคบถึงรูปหอก
กว้าง 0.5-1.0 มม. ยาว 2.5-3.0 มม. โคนตัดและแตะกับกลีบเลี้ยงและเกสรเพศผู้ เกสรเพศผู้ 10 อัน อับเรณู 2 พู ยาวประมาณ 0.5 มม. สีเหลือง ก้านชูอับเรณูเชื่อมกันที่โคนเล็กน้อย ประมาณ 1.0 มม.ปลายแยกกันยาว 6-9 มม. สีขาวหรือสีขาวอมเหลือง รังไข่เกลี้ยง รูปไข่ ขนาด 0.5 มม. อาจพบถึง 1 มม. ก้านรังไข่สั้นมาก ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาว 0.5 มม. สีขาวหรือสีขาวอมเหลือง มักหลุดร่วงง่าย ผล เป็นฝักรูปขอบขนานตรง
หรือคดงอและบิดไปมา กว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 2 เมตร
เปลือกผลแข็งเป็นเนื้อไม้ แต่ละผลมี 13-15 เมล็ด แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เมื่อแก่ข้อจะหักเป็นท่อนๆ
เมล็ดสีน้ำตาล ถึงแดงคล้ำ รูปกึ่งกลม แบน แข็ง
ผิวมันเรียบ กว้าง 4.3-4.6 ซม. ยาว 4.8-5.2 ซม. หนา 1.9-2.1 ซม. เนื้อในเมล็ดสีขาวนวล มักขึ้นพันไม้อื่นตามริมลำธารบริเวณป่าดงดิบ
ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงได้ถึง 900 เมตร ออกดอกช่วงเดือน มีนาคมถึงพฤษภาคม ติดผลราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
และเป็นผลขนาดใหญ่ ราวเดือนกันยายน
แหล่งข้อมูล: ฐานข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี."สะบ้ามอญ".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=175
[09/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น