หน้าเว็บ

เทียนขโมย


ชื่อสามัญ              เทียนขโมย

ชื่อวิทยาศาสตร์    Drypetes hoaensis Gagnep.

ชื่อท้องถิ่น            กะพาบหลงใหลสองกระดองหิน

ชื่อวงศ์                  EUPHORBIACEAE      

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์


  • ลำต้น  มีเปลือกลำต้นสีเทา เรียบ และมักคดงอ แตกกิ่งก้านสาขาในระดับต่ำๆ ไม่ค่อยมีการผลัดใบ มีขนาดความสูงของลำต้นประมาณ 6-12 เมตร บางต้นอาจสูงได้ถึง 25 เมตร


  • ใบ   ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปทรงรี แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างของใบจะมีสีอ่อนกว่าด้านบน โคนใบสอบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเป็นหยักห่างๆ มีขนาดความกว้างของใบประมาณ 3-5 ซม. ยาวประมาณ 6-11 ซม. ก้านใบยาวประมาณ 5-12 ม.ม.



  •  ดอก   มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่คนละช่อภายในต้นเดียวกัน โดยที่ดอกเพศผู้จะออกตามง่ามใบเป็นช่อกลุ่มประมาณ 3-5 ดอก มีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอกเป็นจำนวนมากส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งก้านเป็นดอกเดี่ยว ดอกมีสีขาวอมเขียวขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก มีกลีบเลี้ยงจำนวน 4 กลีบ ที่ส่วนปลายแยกออกจากกัน มักออกดอกในช่วงประมาณเดือนธันวาคม – มีนาคม


  • ผล  มีลักษณะเป็นรูปไข่ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีแดงอมส้ม ขนาดผลที่โตเต็มที่มีขนาดประมาณ 1 ซม. ผิวผลเรียบ เนื้อภายในมีลักษณะฉ่ำน้ำ จะติดผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน-สิงหาคม ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียง 1 เมล็ด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคถุณของเทียนขโมย คลิกที่นี่

แหล่งข้อมูล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาลัยอุบลราชธานี : Phargardan.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น