หน้าเว็บ

มะกา




มะกา 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia ovata Decne.
 จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรมะกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้องแกบ (เชียงใหม่)ขี้เหล้ามาดกา (ขอนแก่น)ซำซา มะกาต้น (เลย)มัดกา มาดกา (หนองคาย)มาดกา (นครราชสีมา)กอง กองแกบ (ภาคเหนือ)ส่าเหล้า สิวาลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

 ลักษณะของมะกา



  • ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย
 



  • ใบมะกา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-21 เซนติเมตร แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น



  • ดอกมะกา ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกเป็นสีเขียวอ่อน มีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบดอกแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน เกสรดอกเป็นสีแดง


  • ผลมะกา ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำ ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปไข่

ข้อมูลเพิ่มเติมสรรพคุณและประโยชน์ของมะกา คลิกที่นี้

แหล่งอ้างอิง

1.หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “มะกา (Maka)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษีธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 213.
2.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “มะกา”.   หน้า 148.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).
3.หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “มะกา”.  หน้า 66.
4.งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนวารินชำราบ สพม. เขต 29.  “มะกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ict2.warin.ac.th/botany/.  [13 พ.ค. 2014].
5.ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา.  “มะกา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.hinsorn.ac.th/botanyhinsorn/.  [13 พ.ค. 2014].
6.คมชัดลึกออนไลน์.  “มะกา ใบขับเสมหะ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.komchadluek.net.  [13 พ.ค. 2014].
7.การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนเขาตายิ้ม อ.เมือง จ.ตราดสำนักวิจัยการจัดการป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ พ.ศ. 2549.  “มัดกามะกา”.  (ชูจิตร อนันตโชคทรรศนีย์ พัฒนเสรวจีรัตน์ บุญญะปฏิภาค).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: forprod.forest.go.th/forprod/chemistry/pdf/1.66.pdf.  [13 พ.ค. 2014].
8.https://medthai.com/มะกา   ประโยนชน์และสรรพคุณ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/มะกา[16/04/2019]  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น