หน้าเว็บ

เปล้าใหญ่



เปล้าใหญ่


ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Croton oblongifolius Roxb., Croton roxburghii N.P.Balakr., Oxydectes oblongifolia Kuntze, Oxydectes persimilis (Müll.Arg.) Kuntze)
จัดอยู่ในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)


ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ : เปาะ (กำแพงเพชร), ควะวู (กาญจนบุรี), เปล้าหลวง (ภาคเหนือ), เซ่งเค่คัง สะกาวา สกาวา ส่ากูวะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ห้าเยิ่ง (ชาน-แม่ฮ่องสอน), คัวะวู, เปวะ เป็นต้น โดยมีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย เนปาล ภูฎาน บังคลาเทศ ภูมิภาคอินโดจีน พม่า และในประเทศไทย โดยสามารถพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มักขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง


ลักษณะของเปล้าใหญ่


  • ต้นเปล้าใหญ่ หรือ ต้นเปล้าหลวง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 8 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาล มีรอยแตกบ้างเล็กน้อย ที่กิ่งก้านค่อนข้างใหญ่ ตามใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอก จะมีเกล็ดสีเทาเป็นแผ่นเล็ก ๆ ปกคลุมอยู่ทั่วไป โดยมักพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่มีความสูงไม่เกิน 950 เมตร

 à¸•à¹‰à¸™à¹€à¸›à¸¥à¹‰à¸²à¹ƒà¸«à¸à¹ˆ

  • ใบเปล้าใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือเป็นรูปใบหอก ใบรียาว มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 9-30 เซนติเมตร โคนใบและปลายใบแหลมหรือมน ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันไม่สม่ำเสมอ ลักษณะของใบจะลู่ลง ใบอ่อนจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนใบแก่ค่อนข้างเกลี้ยง หลังใบเรียบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีขนไม่มาก ใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มก่อนร่วงหล่นลงมา ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1.3-6 เซนติเมตร และฐานใบมีต่อม 2 ต่อม
  • ดอกเปล้าใหญ่ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีหลายช่อ ช่อดอกมีความยาวประมาณ 12-22 เซนติเมตร ลักษณะตั้งตรง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือแยกต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองแกมสีเขียว ดอกจะทยอยบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ โดยดอกตัวผู้เป็นสีขาวใส มีกลีบดอกสั้นจำนวน 5 กลีบ ที่โคนกลีบดอกจะติดกัน มีกลีบเลี้ยงเป็นรูปขอบขนานกว้าง ๆ 5 กลีบ หลังกลีบเลี้ยงมีเกล็ดสีน้ำตาล โดยกลีบดอกยาวเท่ากับกลีบเลี้ยง มีขนอยู่หนาแน่น ที่ฐานดอกมีต่อมลักษณะกลม ๆ 5 ต่อม มีเกสรตัวผู้ 12 อัน เกลี้ยง ส่วนดอกตัวเมียเป็นสีเหลืองแกมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบเล็ก ลักษณะเป็นรูปยาวแคบ ขอบกลีบจะมีขน ที่โคนกลีบดอกจะติดกัน ปลายกลีบดอกแหลม กลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน และรังไข่เป็นรูปขอบขนาน มีเกล็ด โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
  • ผลเปล้าใหญ่ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ผลจะแห้งแตก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแบน มีพู 3 พู มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวเรียบ ด้านบนแบน มีเกล็ดเล็กห่างกัน ในผลมีเมล็ดลักษณะแบนรี ยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร[1],[9]โดยจะติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม


 à¸”อกเปล้าใหญ่

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นเปล้าใหญ่ คลิกที่นี่


แหล่งอ้างอิง
  1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  "เปล้าใหญ่".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [14 ธ.ค. 2013].
  2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  "เปล้าใหญ่".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org.  [14 ธ.ค. 2013].
  3. โครงการจัดทำฐานข้อมูลพืชสมุนไพรที่สำรวจและวิจัยภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.  สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.  "เปล้าใหญ่".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: orip.kku.ac.th/thaiherbs/.  [14 ธ.ค. 2013].
  4. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน).  "Croton roxburghii N.P. Balakr.".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [14 ธ.ค. 2013].
  5. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  "เปล้าใหญ่".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri.  [14 ธ.ค. 2013].
  6. ฐานข้อมูลสมุนไพร ในฐานสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์) ในสวนพฤกษศาสตร์กล้วยไม้ร้อยปีสมเด็จย่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้.  "รายงานแสดงลักษณะของพืชสมุนไพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.mmp.mju.ac.th . [14 ธ.ค. 2013].
  7. มูลนิธิสุขภาพไทย.  "อบสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org.  [14 ธ.ค. 2013].
  8. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้.  "เปล้าใหญ่".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th.  [14 ธ.ค. 2013].
  9. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  "เปล้าหลวง".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/.  [14 ธ.ค. 2013].
  10. medthai.com. “เปล้าใหญ่ สรรพคุณและประโยชน์ของเปล้าใหญ่ 40 ข้อ ! (เปล้าหลวง)”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/เปล้าใหญ่/ [09/04/2019]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น