ชื่อสามัญ : Bastard cedar, Bead tree, Chaina
tree, Chinaball tree, Persian lilac, White cedar
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Melia azedarach L. จัดอยู่ในวงศ์กระท้อน
(MELIACEAE)
สมุนไพรเลี่ยน
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เกรียน เคี่ยน เฮี่ยน (ภาคเหนือ), เลี่ยนใบใหญ่
เคี่ยน เลี่ยน เกษมณี (ภาคกลาง), เลี่ยนดอกม่วง (ทั่วไป),
ลำเลี่ยน (ลั้วะ), โขวหนาย (จีนแต้จิ๋ว),
ขู่เลี่ยน ขู่เลี่ยนซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของต้นเลี่ยน
- ต้นเลี่ยน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กผลัดใบ มีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เลี่ยนเล็กมีความสูงได้ประมาณ 10-15 เมตร ส่วนเลี่ยนใหญ่จะมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร (มีสรรพคุณทางยาเหมือนกัน) แตกกิ่งก้านโปร่งบางและแผ่กว้าง โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตามยาวตื้น ๆ เปลือกต้นมีรูขนาดเล็กอยู่ทั่วไป กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนกิ่งแก่เป็นสีม่วง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และวิธีการปักชำ จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและชอบความชุ่มชื้นเล็กน้อย พบขึ้นได้ตามชายป่าดิบและป่าเบญจพรรณ
- ใบเลี่ยน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงเวียนสลับ มักทิ้งใบเหลืออยู่ที่ปลายกิ่ง หรือช่อใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีใบย่อยประมาณ 3-5 ใบ ช่อใบยาวได้ประมาณ 8 นิ้ว ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่หรือรูปรีกึ่งขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเกลี้ยง ด้านบนใบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน และตามเส้นใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ เลี่ยนเล็กใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-4.5 เซนติเมตร ส่วนเลี่ยนใหญ่ ใบจะมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
- ดอกเลี่ยน
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบใกล้กับปลายกิ่ง ดอกเป็นสีขาวอมม่วง มีกลิ่นหอมเย็นอ่อน ๆ
กลีบดอกมี 5-6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ดอกยาวประมาณ 0.5 นิ้ว
ก้านเกสรเพศผู้มีสีม่วงเข้มติดกันเป็นหลอด ซึ่งจะตัดกับกลีบดอกน่าดูมาก
ส่วนกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 5-6 แฉก
และดอกที่โคนก้านช่อจะบานก่อน แล้วจะค่อย ๆ บานขึ้นไปตามลำดับ
- ผลเลี่ยน
ผลมีลักษณะกลมรี เลี่ยนเล็กผลยาวได้ประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร
ส่วนเลี่ยนใหญ่ ผลจะยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ผลอ่อนเป็นสีเขียว ผลสุกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลเหลือง
ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยวสีน้ำตาล บ้างว่าในผลจะแบ่งออกเป็น 4-5 ห้อง
และในแต่ละห้องจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด
และเมล็ดเป็นรูปเหลี่ยมสีดำ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นเลี่ยน คลิกที่นี่
แหล่งอ้างอิง :
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “เลี่ยน”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 170.
- หนังสือสมุนไพรไทย
เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย
มังคละคุปต์). “เลี่ยน (Lian)”. หน้า 272.
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่
5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “เลี่ยน”.
หน้า 703-705.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “เลี่ยน”. หน้า 504.
- สรรพคุณสมุนไพร
200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
“เลี่ยน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
[01 มิ.ย. 2014].
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง
(องค์กรมหาชน). “Bastard cedar,
Bead Tree, Bastard Cedar, China Tree, Chinaball Tree, Persian Lilac”. อ้างอิงใน:
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่
7
(ก่องกานดา ชยามฤต, ลีนา ผู้พัฒนพงศ์,). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [01 มิ.ย. 2014]. - ไทยรัฐออนไลน์. (นายเกษตร).
“เลี่ยน ดอกหอมยอดอร่อยสรรพคุณดี”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [01 มิ.ย. 2014].
- ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.
“เลี่ยน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com. [01 มิ.ย. 2014]. - สมุนไพรไทยภูมิปัญญาชาวบ้านวิถีชีวิตชนบทไทย. “เลี่ยน”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.sopon.ac.th/sopon/lms/science52/herb2/www.thai.net/thaibarn/. [01 มิ.ย. 2014].
- วิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร. “เลี่ยน (เกษมณี)”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.sknk-ptc.ac.th.
[01 มิ.ย. 2014]. - ไทยเกษตรศาสตร์. “เลี่ยนตำรับยาและวิธีใช้” [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.thaikasetsart.com.
[01 มิ.ย. 2014]. - medthai.com. “เลี่ยน สรรพคุณและประโยชน์ของต้นเลี่ยน 30 ข้อ !”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/เลี่ยน/ [09/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น