ชื่อสามัญ: Siamese rough bush,
Tooth brush tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Streblus asper
Lour. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรข่อย มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ: ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี), ส้มพอ
(เลย ร้อยเอ็ด), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), สะนาย (เขมร), สมนาย เป็นต้น
ลักษณะของต้นข่อย
ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย
โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างคดงอ มีปุ่มปมอยู่รอบ ๆ
ต้นหรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป ซึ่งอาจจะขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม
เปลือกต้นมีสีเทาอ่อน บาง ขรุขระเล็กน้อย แตกเป็นแผ่นบาง ๆ
และมียางสีขาวข้นเหนียวซึมออกมา แตกกิ่งก้านมีสาขามาก แตกกิ่งต่ำเป็นพุ่มทึบ
และนิยมขยายพันธุ์ด้วยการใช้รากปักชำ
เพราะจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้กิ่งปักชำหรือการเพาะเมล็ด
ใบข่อย ลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
มีขนาดเล็ก แผ่นใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนากรอบ
ผิวใบสากคล้ายกระดาษทรายทั้งสองด้าน ลักษณะใบคล้ายรูปรีแกมรูปไข่หัวกลับ โคนใบสอบ
ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก มีความกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ
4-7 เซนติเมตร
ดอกข่อย ออกดอกเป็นช่อ
มีสีขาวเหลืองอ่อน โดยจะออกปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก
ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน
ผลข่อย ผลสดมีลักษณะกลมสีเขียว
ผลคล้ายรูปไข่ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร
เมล็ดมีขนาดโตเท่ากับเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ส่วนผลแก่จะมีสีเหลืองใสและมีรสหวาน
และเป็นที่ชื่นชอบของพวกนกเป็นอย่างมาก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นข่อย คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์, เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
(องค์การมหาชน), วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
medthai.com."ข่อย
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นข่อย 29 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ข่อย [14/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น