ชื่อสามัญ: Wild cinchona
ชื่อวิทยาศาสตร์: Neonauclea
purpurea (Roxb.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Anthocephalus
chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE) เช่นเดียวกับกระทุ่มนา
สมุนไพรกระทุ่ม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ: ตะกู (จันทบุรี, นครศรีธรรมราช, สุโขทัย), ตะโกใหญ่ (ตราด), ตุ้มพราย, ทุ่มพราย (ขอนแก่น), กระทุ่มบกกระทุ่มก้านยาว (กรุงเทพ), ตะโกส้ม (ชัยภูมิ, ชลบุรี), แคแสง (ชลบุรี), โกหว่า (ตรัง), กรองประหยัน (ยะลา), ตุ้มก้านซ้วง ตุ้มก้านยาว ตุ้มเนี่ยง ตุ้มหลวง (ภาคเหนือ), กระทุ่ม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), ตุ้มขี้หมู (ภาคใต้), กว๋าง (ลาว), ปะแด๊ะ เปอแด๊ะ สะพรั่ง
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ปาแย (มลายู-ปัตตานี) เป็นต้น
ลักษณะของกระทุ่ม
- ต้นกระทุ่ม จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบหรือไม่ผลัดขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
มีความสูงของต้นประมาณ 15-30 เมตร บางครั้งมีพูพอน
ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งโน้มลง เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแก่
แตกเป็นร่องตามยาว มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง
โดยสามารถพบได้ตั้งแต่ประเทศเนปาล บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า จีน
ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ไปจนถึงฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี
ส่วนในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาค โดยมักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้น
และป่าดิบแล้ง หรือตามหุบเขาหรือริมลำธารที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 500-1,500
เมตร
- ใบกระทุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน
ปลายใบมนออกแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมน กลม หรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ
ใบมีขนาดกว้างประมาณ 7-17 เซนติเมตรและยาวประมาณ 20
เซนติเมตร แผ่นใบบางและเหนียว หลังใบเรียบเป็นมัน
ส่วนท้องใบมีขนสั้นนุ่มหรือบางทีเกลี้ยง มีเส้นแขนงของใบประมาณ 11-20 คู่ ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร
และมีหูใบลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร
- ดอกกระทุ่ม ออกดอกที่ปลายกิ่งเป็นช่อกลมกระจุกแน่น
มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร
ก้านช่อยาวประมาณ 1.5-4 เซนติเมตร
ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่น ติดบนใบประดับขนาดเล็กประมาณ 1-3 คู่ กลีบเลี้ยงดอกมีลักษณะเป็นหลอดสั้น ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นกลีบ ยาวเท่า ๆ หลอดกลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลือง
หลอดกลีบยาวประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร
ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร
อับเรณูมีลักษณะเป็นรูปแถบ ยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร
รังไข่สูงประมาณ 0.4 เซนติเมตร ก้านเกสรรวมยอดเกสรยาวประมาณ
1.5-2 เซนติเมตร ดอกมีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปหลอด
ปลายกลีบหยักแผ่ขยายออกและมีขนนุ่ม ๆ ทางด้านนอก และยังมีกลีบเลี้ยงดอก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 5
ก้าน ส่วนเกสรเพศเมียยาว
- ผลกระทุ่ม ผลเป็นผลรวมที่เกิดจากวงกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน
หรือผลเป็นกระจุกกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ผลย่อยแยกกัน มีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ผิวขรุขระ
อุ้มน้ำ ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก
แหล่งข้อมูล: หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.
“กระทุ่ม (Kra Thum)”. (ดร.นิจศิริ
เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 30.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “กระทุ่ม”.
(พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, รศ.ดร.นิจศิริ
เรืองรังษี, อาจารย์กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 58.
สำนักงานหอพรรณไม้, สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กระทุ่ม”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/. [01 ก.พ.
2014].
หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ราชบัณฑิตยสถาน.
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “กระทุ่ม”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [01 ก.พ.
2014].
medthai.com."กระทุ่ม
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกระทุ่มบก 9 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กระทุ่ม [13/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น