ชื่อสามัญ: Chaulmoogra
ชื่อวิทยาศาสตร์: Hydnocarpus
anthelminthicus Pierre ex Laness. ปัจจุบันถูกจัดอยู่ในวงศ์ ACHARIACEAE
สมุนไพรกระเบา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ: กระเบา กระเบาน้ำ กระเบาข้าวแข็งกระเบาข้าวเหนียว กระตงดง (เชียงใหม่), ดงกะเปา (ลำปาง), กระเบาใหญ่(นครราชสีมา), หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์), เบา (สุราษฎร์ธานี), กุลา กาหลง(ปัตตานี),
มะกูลอ (ภาคเหนือ), กระเบาเบ้าแข็ง กระเบาใหญ่ กาหลง แก้วกาหลง (ภาคกลาง), เบา (ภาคใต้), กระเบาตึก (เขมร), ตัวโฮ่งจี๊ (จีน), ต้าเฟิงจื่อ (จีนกลาง)
เป็นต้น
ลักษณะของต้นกระเบา
- ต้นกระเบา มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคอินโดจีน จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่
มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร รูปทรงสูงโปร่ง
ลำต้นเปลาตรง เปลือกลำต้นเรียบและเป็นสีเทา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ในประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาคตามป่าดิบและตามป่าบุ่งป่าทามที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล
30-1,300 เมตร
- ใบกระเบา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ
ลักษณะใบเป็นรูปรียาวแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ
ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-20
เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม
ส่วนท้องใบเรียบไม่ลื่นและมีสีอ่อนกว่า เนื้อใบทึบแข็งมีลักษณะกรอบ มีเส้นใบประมาณ
8-10 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นลายร่างแหมองเห็นได้ชัดเจน
ใบอ่อนเป็นสีชมพูแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม ส่วนก้านใบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
- ดอกกระเบา ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น
ต้นตัวผู้จะเรียกว่า “แก้วกาหลง” ส่วนต้นตัวเมียจะเรียกว่า
“กระเบา”ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ
บ้างว่าออกดอกเป็นช่อมีสีขาวนวล ในช่อหนึ่งมีประมาณ 5-10 ดอก
ดอกมีกลิ่นหอมฉุน มีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน ดอกเพศผู้เป็นสีชมพู มีกลีบดอก 5 กลีบและมีกลีบเลี้ยงดอก
5 กลีบ มีขน ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ
กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกับดอกเพศผู้โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน บ้างก็ว่าจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน (ภาพแรกคือดอกเพศผู้ (แก้วกาหลง), ส่วนภาพสองคือดอกเพศเมีย
(กระเบา))
- ผลกระเบา ผลใหญ่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม
ผลมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร
เปลือกผลหนาแข็งเป็นสีน้ำตาล ผิวผลมีขนคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เนื้อในผลเป็นสีขาวอมเหลือง
ข้างในผลมีเมล็ดสีดำอัดแน่นรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 30-50 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือรูปไข่เบี้ยว ปลายมนทั้งสองข้าง กว้างประมาณ 1-1.5
เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-1.9 เซนติเมตรโดยจะติดผลในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
และจะเป็นผลในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฏาคม
แหล่งข้อมูล: หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.
“กระเบาใหญ่ (Kra Bao Yai)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).
หน้า 34.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “กระเบาใหญ่”.
(พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, รศ.ดร.นิจศิริ
เรืองรังษี, อาจารย์กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 61.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “กระเบา”.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. หน้า 122.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “กระเบาน้ำ”. (วิทยา
บุญวรพัฒน์). หน้า 40.
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระเบาน้ำ”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.
[01 ก.พ. 2014].
รอบรู้สมุนไพร, โรงเรียนบางสะพานวิทยา.
“กระเบา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bspwit.ac.th.
[01 ก.พ. 2014].
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เล่ม 4.
พืชสมุนไพรโตนงาช้าง, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา),
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กระเบาใหญ่”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: paro6.dnp.go.th.
[01 ก.พ. 2014].
ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “กระเบา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/.
[01 ก.พ. 2014].
สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย. “กระเบา”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com.
[01 ก.พ. 2014].
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “กระเบาใหญ่”.
อ้างอิงใน: thaimedicinalplant.com. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [01 ก.พ. 2014].
medthai.com."กระเบา
สรรพคุณและประโยชน์ของกระเบาใหญ่ 22 ข้อ ! (กระเบาน้ำ)".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กระเบา [13/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น