งิ้ว
ชื่อสามัญ Cotton tree, Kapok tree, Red cotton
tree, Silk cotton, Shving brush
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax ceiba L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bombax malabaricum DC., Gossampinus
malabarica Merr.)
สมุนไพรงิ้ว
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วปง งิ้วปกแดง สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วป่า, งิ้วปงแดง, งิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปั้งพัวะ (ม้ง), บักมี้ (จีน) เป็นต้นชนิดของต้นงิ้ว
ชนิดของต้นงิ้ว
ต้นงิ้ว หรือ งิ้วป่า
จัดเป็นพืชในสกุล Bombax ในประเทศมีรายงานว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่
• ชนิดที่ 1 "งิ้ว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax ceiba L. (กล่าวในบทความนี้)
• ชนิดที่ 2 "งิ้วป่าดอกแดง"
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax insigne
Wall.
• ชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre และยังสามารถแยกออกได้อีก 2 ชนิดย่อย ได้แก่"งิ้วป่า" (งิ้วป่าดอกขาว) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre var. anceps* (ชื่อวิทยาศาสตร์ไม่แน่ชัด)
"ง้าว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps var. cambodiense (Pierre)
Robyns
ลักษณะของต้นงิ้ว
- ต้นงิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่
ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25เมตร
(บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร)
และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร
ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน
ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ
ตามเชิงเขาและไหล่เขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-600 เมตร ซึ่งในปัจจุบันต้นงิ้วจะหาดูได้ยากมาก จะมีปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่ที่เท่านั้น
- ใบงิ้วใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 3-7 ใบเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว และยาวประมาณ 6-10 นิ้ว ใบสีเขียวไม่มีขน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ก้านช่อใบยาว โคนก้านบวมเล็กน้อยดอกงิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 ดอก ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ หรือเป็นกลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกมีขนาดใหญ่และหนา มี 5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วของดอก หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนสีชมพู ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และจะทิ้งใบก่อนมีดอก
-
- ผลงิ้ว
หรือ ฝักงิ้วผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม
ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง
มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน
ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ
และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว ๆ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกล
- ผลงิ้ว
หรือ ฝักงิ้วผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม
ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง
มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน
ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ
และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาว ๆ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกล
แหล่งอ้างอิง
1. ฐานข้อมูลพรรณไม้
องค์การสวนพฤกษศาสตร์. "งิ้ว".
อ้างอิงใน: หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เล่ม 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
www.qsbg.org. [7 ม.ค. 2014].
2. การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนดาราพิทยาคม. "งิ้ว, งิ้วบ้าน, งิ้วหนาม". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.drpk.ac.th.
[7 ม.ค. 2014].
3. ไทยรัฐออนไลน์.
"งิ้ว เป็นอาหารมีสรรพคุณและประโยชน์". (นายเกษตร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [7 ม.ค. 2014].
4. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม. "ต้นงิ้ว วัดห้วยหลาด
อำเภอรัตภูมิ". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.m-culture.in.th. [7 ม.ค. 2014].
5. Samuel, A.J.S.J.,
Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A.,
Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by
the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology
and Ethnomedicine. 6:5
6. ลานธรรมจักร.
"ต้นงิ้ว วิมานฉิมพลีของนางกากี". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.dhammajak.net.
[7 ม.ค. 2014].
7. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้.
"ดอกงิ้ว สมุนไพรไทย แคลเซียมสูง รักษาสารพัดโรค".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.fio.co.th/p/magazine_fio/files/5503.pdf. [7 ม.ค. 2014].
8. ภูมิปัญญาอภิวัฒน์.
"สมุนไพรเปลือกงิ้วต้มกินแก้ไตพิการ". (สมหวัง วิทยาปัญญานนท์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.budmgt.com. [7 ม.ค.
2014].
9. รักบ้านเกิด.
"การใช้งิ้วแดงรักษาโรคความดันโลหิตสูง". (บรรทม จิตรชม). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com. [7 ม.ค. 2014].
10. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). "Kapok
tree". อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
(เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:eherb.hrdi.or.th. [7 ม.ค. 2014].
11. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). "งิ้วแดง". (ฉันท์ฐิตา ธีระวรรณ).
อ้างอิงใน: thrai.sci.ku.ac.th/node/1694. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.
[7 ม.ค. 2014].
12. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย
(วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
13. สมุนไพรดอตคอม.
"งิ้วแดง". (manji). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [7 ม.ค.
2014].
14. คณะนิติวิทยาศาสตร์
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. "มารู้จัก... ต้นงิ้ว
กันเถอะ". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: forensic.rpca.ac.th/pdf/bombax.pdf. [7 ม.ค. 2014].
15.
https://medthai.com/งิ้ว / เข้าถึงออนไลน์ได้จาก
https://medthai.com/งิ้ว / [15 /04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น