หน้าเว็บ

โมกเครือ





ชื่อสมุนไพร         โมกเครือ

ชื่อท้องถิ่น             เครือไส้ตัน (นครราชสีมา หนองคาย) เดื่อเครือ เดื่อดิน เดื่อเถา เดื่อไม้ โมกเครือ (ภาคเหนือ) เดือยดิน (ประจวบคีรีขันธ์) เดือยดิบ (กระบี่) มะเดื่อดิน (ทั่วไป) มะเดื่อเถา (ราชบุรี ภาคเหนือ) ย่านเดือยบิด (สุราษฎร์ธานี) พิษ (ภาคกลาง) ย่านเดือยบิด ไส้ตัน

ชื่อวิทยาศาสตร์     Aganosma marginata (Roxb.) G.Don

ชื่อพ้อง                  Amphineurion marginatum (Roxb.) D.J.Middleton, A. acuminatum (G.Don) Pichon, A. velutinum (A.DC.) Pichon, Aganosma acuminata G.Don, A. euloba Miq., A. macrocarpa A.DC., A. velutina A.DC., Chonemorpha cristata (Roth) G.Don, C dichotoma G.Don, Echites apoxys Voigt, E. cristatus Roth, E. marginatus Roxb., E. procumbens Blanco, Holarrhena procumbens (Blanco) Merr., Ichnocarpus acuminatus (G.Don) Fern.-Vill., I. macrocarpus (A.DC.) Fern.-Vill., I. velutinus (A.DC.) Fern.-Vil


ชื่อวงศ์                   Apocynaceae           
                                         
  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์



  • ลำต้น : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้น สูง 5-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย เลื้อยพันต้นไม้อื่น ไม่มีมือเกาะ เถาอ่อนสีน้ำตาลแดง เถาแก่สีเทา ตามลำต้นมีช่องอากาศกระจายทั่วไป ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวขุ่น 



  • ใบ : เป็นเดี่ยวเรียงตรงข้าม กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 6.5-8.5 เซนติเมตร ก้านใบเรียวเล็ก ยาว 2.5 มิลลิเมตร เส้นใบชัดเจน เชื่อมปิดที่ขอบใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเป็นคลื่น เส้นใบ 7-15 คู่ เส้นขอบในนูนเด่นชัด ก้านใบยาว 0.4-1.1 ซม. เกลี้ยง ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง แผ่นใบเป็นคลื่น สีเขียวเข้มเป็นมันวาว ด้านหลังใบเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านท้องใบมีขนสั้นๆ ใบแก่เกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน 



  • ดอก : ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกลีบแยก ดอกย่อยสีขาวเกลี้ยง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงเวียนกัน ดอกตูมกลีบออกบิดไปทางเดียวกัน กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูปรีแกมรูปหอก สีเขียวอ่อน โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ก้านเกสรติดกับอับเรณูด้านฐาน บริเวณโคนก้านมีกระจุกขน เกสรเพศเมียมีรังไข่เหนือวงกลีบ มี 2 ห้อง แยกกัน
  


  • ผล : เป็นฝักคู่ เรียวยาว ทรงกลม ปลายแหลม กว้าง 0.5-1.2 ซม. ยาว 30-50 เซนติเมตร เกลี้ยง เมื่อแห้งแตกตามยาวตะเข็บเดียว เมล็ดจำนวนมากสีน้ำตาล แต่ละผลมี 35-62 เมล็ด



  • เมล็ด : รูปขอบขนาน กว้าง 0.7-1.2 ซม. ยาว 1.6-4.7 ซม. มีขนสีขาวเป็นพู่ติดอยู่ที่ปลายเมล็ด ยาว 2.2-5.3 ซม. ปลิวตามลม ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน ติดผลเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบตามป่าผลัดใบ ป่าเต็งรัง ชายป่าดงดิบและป่าดิบแล้ง ริมสระน้ำ หนองบึง ความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 800 เมตร
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของโมกเครือ คลิกที่นี่ 

แหล่งอ้างอิง
https://myadditional.blogspot.com/2019/04/blog-post_61.html
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=269
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=933
  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “โมกบ้าน (Mok Bann)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 247.
  2. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “โมกบ้าน”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 649-650.
  3. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “โมกซ้อน”.  (นพพล เกตุประสาท).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th.  [19 พ.ค. 2014].
  4. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “โมกลา โมกซ้อน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th.  [19 พ.ค. 2014].
  5. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, กระทรวงวัฒนธรรม.  “ต้นโมกไม้มงคล”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก:m-culture.in.th.  [19 พ.ค. 2014].
  6. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by rohana kamarul ariffin, cp7083, Jennie Pham, rogerphayao, 澎湖小雲雀, Cliff, Bobby9812, mcgarrett88, Shannon Chan)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น