ชื่อสามัญ Long pepper, Indian long
pepper, Javanese long pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper retrofractum
Vahl
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Chavica
officinarum Miq., Piper chaba Hunter, Piper officinarum (Miq.) C. DC. แต่บางข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Piper longum
L.
จัดอยู่ในวงศ์พริกไทย (PIPERACEAE)
สมุนไพรดีปลี มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า
ดีปลีเชือก (ภาคใต้), ปานนุ ประดงข้อ (ภาคกลาง),
พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น
สมุนไพรดีปลี
สมุนไพรเก่าแก่ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีหลักฐานการจดบันทึกมานานกว่า 4,000 ปี
มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย
สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย
โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือน ๆ กัน
แต่ดีปลีจะดีกว่าในเรื่องของลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้
รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด ส่วนพริกไทยนั้นจะดีกับลมที่ขับปัสสาวะ
ลักษณะของดีปลี
- ต้นดีปลี มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas)
ในมหาสมุทรอินเดีย
แต่ได้มีการนำมาปลูกและแพร่กระจายในประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย
โดยจัดเป็นไม้เถามีรากฝอยออกบริเวณข้อเพื่อใช้ยึดเกาะและเลื้อยพัน
เถาค่อนข้างเหนียวและแข็ง มีข้อนูน แตกกิ่งก้านสาขามาก
เจริญเติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น มีแสงแดดรำไร
- ดอกดีปลี หรือ ผลดีปลี ผลสดมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ลักษณะของผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนใหญ่กว่าปลายไม่มาก ปลายเล็กมน ผลมีความยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ และมีเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลย่อยมีเมล็ดเดียว โดยเมล็ดมีขนาดเล็กมาก ลักษณะกลมและแข็ง ผงของผลมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน ขมปร่า นิยมเก็บผลมาใช้เมื่อผลเริ่มเป็นสีน้ำตาล แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
- ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของดอก ใบ ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก หรือตากแดดให้แห้ง เถา และรากดีปลี
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของดีปลี คลิกที่นี่
แหล่งอ้างอิง :
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
(ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร), สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เล่ม 3, ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร, เว็บไซต์เกษตรพอเพียง.คอม, เว็บไซต์โหระพาดอทคอม , เว็บไซต์ thaigoodview.com
และเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น