เตย หรือ เตยหอม ชื่อสามัญ Pandan
leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus
amaryllifolius Roxb.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pandanus odorus
Ridl.
จัดอยู่ในวงศ์เตยทะเล (PANDANACEAE)
สมุนไพรเตย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ใบส้มม่า
(ระนอง),
ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน),
ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ต้นเตยหอม จัดเป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ
มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวจนถึงยอดใบ ลักษณะของใบเป็นทางยาว
สีเขียวเป็นมัน ใบค่อนข้างแข็ง มีขอบใบเรียบ
เราสามารถนำใบเตยมาใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง ในใบเตยจะมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย
(Fragrant
screw pine) โดยกลิ่นหอมของใบเตยนั้นมากจากสารเคมีที่ชื่อว่า 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกันกับที่ได้ใน ข้าวหอมมะลิ
ขนมปังขาว และดอกชมนาด
ใบเตยเป็นพืชที่คนไทยทุกคนต่างก็รู้จักกันดี
เนื่องจากมีการนำมาใช้กันอย่างหลากหลายตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย
และยังให้สีสันน่ารับประทานอีกด้วย
แหล่งอ้างอิง : www.gotoknow.org (ทิพย์สุดา), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)และ เว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น