ชื่อสามัญ Paper mulberry[1]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Broussonetia papyrifera (L.) L'Hér. ex Vent.
จัดอยู่ในวงศ์ขนุน
(MORACEAE)[1]
สมุนไพรปอกระสา มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์), ปอกะสา
(ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หมอมี หมูพี (ภาคกลาง), ปอฝ้าย (ภาคใต้), ส่าแหล่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),
เซงซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชะดะโค ชะตาโค
(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), สายแล (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ป๋อสา (คนเมือง), ไม้ฉายเล (ไทใหญ่), ไม้สา (ไทลื้อ), ลำสา (ลั้วะ), หนั้ง (เมี่ยน), เตาเจ (ม้ง), ตุ๊ดซาแล
(ขมุ), ตู๋ซิก จูซิก (จีนแต้จิ๋ว), โกวสู้
ชู่สือ (จีนกลาง), ปอสา เป็นต้น
ลักษณะของปอกระสา
- ต้นปอกระสา จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 6-10 เมตร แตกกิ่งก้านโปร่งกว้าง กิ่งเปราะหักง่าย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อนเรียบบางเป็นเส้นใย ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว เมื่อกรีดลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายนมไหลออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น ทางตอนเหนือของประเทศพม่าและไทย ชอบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ตามริมน้ำและที่ชื้น ในป่าที่ค่อนข้างโปร่ง
- ใบปอกระสา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้างหรือรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเล็กน้อยหรือเว้าลึกคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันตลอดทั้งขอบใบ มีแตกเป็น 3-5 แฉกบ้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร แผ่นใบบางนิ่ม หลังใบเรียบเป็นสีเขียวแก่สากระคายมือ ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอ่อนออกเทามีขนหนานุ่มขึ้นปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร และมีขน (ปอกระสาจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ติด ชนิดใบหยัก (3-4 แฉก) และชนิดใบมน แต่โดยปกติแล้วทั้ง 2 ชนิดจะแยกต้นกันอยู่ แต่มีบ้างที่พบว่าใบมีทั้ง 2 ลักษณะในต้นเดียวกัน แต่จากการสังเกตจะพบว่าใบปอกระสาที่มีอายุมากขึ้นจะมีใบมนมากกว่าใบหยัก) ในประเทศไทยพบได้ทั่วไปทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ความสูงประมาณ 50-800 เมตร จากระดับน้ำทะเล
- ดอกปอกระสา ดอกเป็นแบบแยกเพศกันอยู่คนละต้น ช่อดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อห้อยลงมา ยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมากเรียงตัวอัดกันหนาแน่น โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว กลีบรองดอกเป็นกาบ มี 4 กลีบ ส่วนช่อดอกเพศเมียจะออกเป็นช่อกลม มีดอกย่อยจำนวนมาก โดยจะออกตามซอกใบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเขียวอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ก้านเกสรเป็นเส้นฝอยยาวสีม่วง และมีหลอดรังไข่อยู่กลางดอก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
- ผลปอกระสา ผลเป็นผลรวม ออกตามบริเวณซอกใบ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมสีส้มอมแดง ฉ่ำน้ำ มีเนื้อผลมาก เนื้อนิ่ม ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กอยู่บนก้านยาว เมล็ดมีลักษณะแบน ออกผลในช่วงประมาณเดือนเมษายน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของปอกระสา คลิกที่นี่
เอกสารอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ปอกระสา (Po Kra Sa)”. หน้า 187.
- หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). “ปอกระสา”. หน้า 133.
- หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา. (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ปอกระสา”. หน้า 52.
- หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “ปอกระสา”. หน้า 320.
- หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). “ปอกะสา”.
หน้า 454-457.
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ปอกระสา”.
อ้างอิงใน : หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (ดร.วิทย์
เที่ยงบูรณธรรม)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 6 (ก่องกานดา
ชยามฤต). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : eherb.hrdi.or.th. [26 พ.ย. 2014].
- ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ปอกระสา”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th.
[27 พ.ย. 2014].
- พืชให้เส้นใย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
“ปอสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1.htm. [27
พ.ย. 2014].
- วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฉบับที่ 154 กันยายน 2543. (จิระศักดิ์ ชัยสนิท). “ปอสา”.
- medthai.com. “36 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นปอกระสา ! (ปอสา)”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ปอกระสา/ [13/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น