ผกากรอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara
L. จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง
(VERBENACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะจาย มะจาย ตาปู (แม่ฮ่องสอน), คำขี้ไก่ (เชียงใหม่), ดอกไม้จีน
(ตราด), ไม้จีน (ชุมพร), ขี้กา
(ปราจีนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), สามสิบ
(จันทบุรี), ยี่สุ่น (ตรัง), เบ็งละมาศ
สาบแร้ง หญ้าสาบแร้ง (ภาคเหนือ), ก้ามกุ้ง
เบญจมาสป่า หญ้าสาบแร้ง (ภาคกลาง), จีน, โงเซกบ๊วย (จีนแต้จิ๋ว), อู่เซ่อเหมย
หม่าอิงตาน (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของผกากรอง
- ต้นผกากรอง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาและแอฟริกาเขตร้อน และภายหลังได้มีการแพร่ขยายไปทั่วโลกในเขตร้อน แต่ไม่มีหลักฐานว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าคงเข้ามาในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ทำให้ทรงพุ่มมีลักษณะค่อนข้างกลม ใบขึ้นดกหนา ตามลำต้นเป็นร่องมีหนามเล็กน้อย เมื่อขยี้ดมจะมีกลิ่นเหม็น ทั่วทั้งต้นมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ (ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการปักชำ เพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า) ผกากรองเป็นพรรณไม้ดอกกลางแจ้งที่มีอายุหลายปี ชอบแสงแดดจัด ควรได้รับแสงแดดอย่างพอเพียง ชอบสภาพค่อนข้างแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายและระบายน้ำได้ดีมากกว่าดินชุ่มชื้นหรือดินเหนียว จึงจัดเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนทานมาก หลาย ๆ แห่งถือว่ามันเป็นวัชพืชชนิดหนึ่ง เพราะสามารถขึ้นและขยายพันธุ์ได้ดีตามธรรมชาติ จึงมักพบขึ้นตามป่าละเมาะที่ค่อนข้างโปร่งและแห้งแล้ง
- ใบผกากรอง ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-9 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนหยาบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนปกคลุมเล็กน้อย เมื่อลูบจะรู้สึกระคายมือ เส้นใบมีลักษณะย่น ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
- ดอกผกากรอง ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม โดยจะออกตามง่ามใบหรือส่วนยอดของกิ่ง ขนาดช่อดอกกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ประกอบไปด้วยดอกหลายสิบดอก (ช่อละประมาณ 20-25 ดอก) ก้านช่อดอกยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีขนาดเล็กเป็นรูปกรวย มีกลิ่นฉุน กลีบดอกบานออกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีขนาดประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกจะทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปในช่อดอก ดอกมีเกสรเพศผู้อยู่กลางดอก 4 ก้านอยู่ติดกับกลีบดอก ดอกมีหลายสี เช่น สีขาว (ผกากรอง), สีเหลือง (ผกากรองเหลือง), สีแดง (ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง) และยังมีสีแสด สีชมพู และหลายสีในช่อดอกเดียวกัน เป็นต้น (แต่ในปัจจุบันมีการผสมพันธุ์จนเกิดสีผสมใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ และขนาดของดอกหรือช่อดอกก็โตขึ้นด้วย) และยังสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปีหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
- ผลผกากรอง ผลจะพบบริเวณในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปกลม ออกผลเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง เป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เนื้อนิ่ม เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 2 เมล็ด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นผกากรอง คลิกที่นี่
เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผกากรอง”.
(วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 332.
2.สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
“ผกากรอง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
[22 เม.ย. 2014].
3.มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 295 คอลัมน์:
ต้นไม้ใบหญ้า. “ผกากรอง :
ความงามที่มากับความทนทานข้ามทวีป”. (เดชา
ศิริภัทร). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [22 เม.ย. 2014].
4.ทะเบียนพันธุ์ไม้ในโรงเรียน, โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ. “ผกากรอง”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.wattano.ac.th. [22 เม.ย. 2014].
5.หนังสือเพชรน้ำเอก กรุยอดตำรับยาสมุนไพร. “แขนงที่ 2
ประโยชน์และสรรพคุณของพืชสมุนไพรในการนำมาใช้รักษาโรค”. (พฤฒาจารย์วิพุธโยคะ รัตนรังษี).
6.รักบ้านเกิดดอทคอม.
“ผกากรอง ไม้ดอกวัชพืช”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rakbankerd.com.
[22 เม.ย. 2014].
7.หนังสือไม้ดอกแสนสวย. (อรชร
พงศ์ไสว).
8.ระบบวินิจฉัยและการรักษาอาการอันเนื่องจากพืชพิษในประเทศไทย, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ผกากรอง”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/. [22 เม.ย. 2014].
9.ฐานข้อมูลพืชพิษ, ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร
สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. “ผกากรอง”.
อ้างอิงใน: หนังสือตำราสมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 ว่าด้วยสมุนไพรที่เป็นพิษ
(สมพร ภ.หิรัญรามเดช), สารพิษในพืชและอาการพิษในสัตว์ทดลอง
(วันทนา งามวัฒน์), สมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน
(ข้อมูลสรุป) (โครงการสมุนไพรกับการสาธารณสุขมูลฐาน). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: webdb.dmsc.moph.go.th/poison/. [22 เม.ย. 2014].
10.
medthai.com. “28
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นผกากรอง ดอกผกากรอง “ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ผกากรอง/
[14/04/2019]
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Susan Ford Collins,
Reinaldo Aguilar, Nemo's great uncle, Farhan Haekal, jeremyhughes, Elissa
Malcohn, A Yee)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น