ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia myriophylla
Benth. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE)
และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)
สมุนไพรชะเอมไทย
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ตาลอ้อย (ตราด), อ้อยสามสวน
(อุบลราชธานี), ย่านงาย เซเบี๊ยดกาชา (ตรัง), อ้อยช้าง (สงขลา, นราธิวาส), ชะเอมป่า
(ภาคกลาง), ส้มป่อยหวาน (ภาคเหนือ), เพาะซูโฟ
(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กอกกั๋น เป็นต้น
ลักษณะของชะเอมไทย
ต้นชะเอมไทย
จัดเป็นไม้เถายืนต้นขนาดกลาง มีหนามทั่วไปตามลำต้นและกิ่งก้าน
ลักษณะของเถาจะมีตุ่มหนามด้าน ๆ ขนาดเล็กอยู่ตามลำต้นและกิ่งก้าน
เปลือกผิวมีลักษณะขรุขระและมีสีน้ำตาล เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อนและมีรสหวาน
สามารถพบได้ตามป่าดงดิบเขาและป่าโปร่งทั่วไป
ใบชะเอมไทย
ใบมีขนาดเล็กละเอียดเป็นฝอย ๆ โดยเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร เรียงสลับกัน
ส่วนใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน มีก้านใบร่วมยาวประมาณ 17 เซนติเมตร
ส่วนก้านใบหลักจะยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร
ที่โคนก้านใบป่องออก ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน
ดอกชะเอมไทย
ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ลักษณะเป็นพู่ มีกลีบดอกสีขาวและมีกลิ่นหอม
มีก้านช่อดอกยาว ดอกจะรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ส่วนกลีบดอกมีขนาดเล็ก
เชื่อมติดกันเป็นหลอด มีเกสรตัวผู้ยาว มีสีขาว และมีจำนวนมาก
ผลชะเอมไทย
ออกผลเป็นฝัก ฝักมีลักษณะแบน ปลายแหลม มีเมล็ดนูนเห็นได้ชัด
ในหนึ่งฝักจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 5-6 เมล็ด
ฝักมีความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ส่วนก้านฝักยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร
มีสีเหลืองถึงสีน้ำตาล ตรงฝักบริเวณที่มีเมล็ดจะมีรอยนูนขึ้นเห็นได้ชัดเจน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นเลี่ยน คลิกที่นี่
แหล่งอ้างอิง
- ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
"ชะเอมไทย".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [26 พ.ย. 2013].
- ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
"ชะเอมไทย".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [26 พ.ย. 2013].
- สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
"ชะเอมไทย".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [26 พ.ย. 2013].
- สมุนไพรดอตคอม. "ชะเอมไทย". [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com. [26 พ.ย. 2013].
- medthai.com. “ชะเอม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชะเอมไทย 21 ข้อ !”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ชะเอมไทย/ [09/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น