ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Suregada
multiflora (A.Juss.) Baill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gelonium
multiflorum A.Juss.) จัดอยูในวงศ์ยางพารา (EUPHORBIACEAE)
สมุนไพรขันทองพยาบาท
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ยางปลวก ยางปลอก ยายปลวก ฮ่อสะพานควาย (แพร่, น่าน), ทุเรียนป่า ไฟ (ลำปาง), ขุนตาก ข้าวตาก (กาญจนบุรี), ขันทองพยาบาทเครือ
ขัณฑสกร ช้องลำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี), มะดูกดง (ปราจีนบุรี),
ขันทอง (พิษณุโลก), ดีหมี (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์), ขันทองพยาบาท ดูดหิน (สระบุรี), ดูกใส ดูกไทร ดูกไม้ เหมือนโลด (เลย), ดูกไหล
(นครราชสีมา), ขนุนดง ขุนดง (หล่มสัก-เพชรบูรณ์), ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์), ขอบนางนั่ง
(ตรัง), มะดูกเหลื่อม (ภาคเหนือ), มะดูกเลื่อม
(ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ขันทองพยาบาท มะดูก หมากดูก
(ภาคกลาง), กะดูก กระดูก (ภาคใต้), หมากดูด
(ไทย), เจิง โจ่ง (ส่วย-สุรินทร์), มะดูกเลี่ยม,
เหมือดโรค, ป่าช้าหมอง, ยายปลูก
เป็นต้น
ลักษณะของขันทองพยาบาท
ต้นขันทองพยาบาท
มีเขตการกระจายพันธุ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถบประเทศอินเดีย พม่า ไทย
อินโดจีน และในคาบสมุทรมลายู จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ
7-13 เมตร ลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ แตกกิ่งก้านค่อนข้างกลม
กิ่งก้านอ่อนและห้อยลู่ลง ที่กิ่งจะมีขนรูปดาว
เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลแก่และแตกเป็นร่องแบบตื้น ๆ ตามยาว เนื้อไม้เป็นสีขาว
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ตามป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ
ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร
ใบขันทองพยาบาท
ใบหนาแข็งและดกทึบ โดยใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ
ลักษณะของใบเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบแหลม
ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟัน ใบมีความกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ
9-22 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะหนาเหนียวคล้ายแผ่นหนัง
หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบและมีสีอ่อนกว่า
ผิวใบด้านล่างมีต่อมสีเหลืองและมีขนเป็นรูปดาว มีเส้นใบข้าง 5-9 คู่ มีก้านใบยาวประมาณ 2-5 มิลลิเมตร
ส่วนหูใบมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร แต่ละคู่เชื่อมกัน
หลุดร่วงได้ง่าย และจะทิ้งแผลเป็นวงไว้
ดอกขันทองพยาบาท
ดอกมีกลิ่นหอมสีเขียวอมสีเหลืองอ่อน ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ขนาดประมาณ 0.8-1
เซนติเมตร ในช่อดอกจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก
อยู่ตรงข้ามกับใบ ดอกมีใบประดับลักษณะเป็นรูปหอกปลายแหลมยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 0.7-0.8 มิลลิเมตร
ส่วนดอกจะเป็นแบบแยกเพศแยกต้นและไม่มีกลีบดอก โดยดอกเพศผู้จะมีขนาดประมาณ 2.5
มิลลิเมตร และมีเกสรเพศผู้ประมาณ 35-60 ก้าน
แต่ละอันจะมีต่อมอยู่ที่ฐาน ฐานรองดอกนูนพองออก
และอาจพบเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันปะปนอยู่ด้วย
ส่วนดอกเพศเมียจะมีลักษณะเหมือนกับดอกเพศผู้ แต่จะมีรังไข่เหนือวงกลีบ
มีขนอยู่หนาแน่น มีรังไข่ 3 ช่อง
รังไข่มีขนละเอียดและมีหมอนรองดอก มีก้านเกสรเพศเมีย 3 ก้าน
ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร กลีบรองดอกหนามี 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเล็กน้อยและขอบจักเป็นซี่ฟัน โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผลขันทองพยาบาท
ผลมีลักษณะเกือบกลม ผิวผลเกลี้ยง มีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว
เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนสีเหลืองอมส้ม แตกตามพู มีพู 3 พูและมีติ่งเล็ก ๆ อยู่ที่ยอด
ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดประมาณ 7-8
มิลลิเมตร เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มและมีเนื้อบาง ๆ สีขาวหุ้มเมล็ดอยู่
โดยจะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของขันทองพยาบาท
สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของขันทองพยาบาท คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล:
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.
“ขันทองพยาบาท”. (ดร.วิทย์
เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 101-102.
2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “ขันทองพยาบาท (Khan Thong
Phayabat)”. (ดร.นิจศิริ
เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 61.
3. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “ขันทองพยาบาท”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ). หน้า 77.
4. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. “ขันทองพยาบาท”. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). หน้า 196.
5. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
“ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [12 ก.พ. 2014].
6. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม
ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [12 ก.พ. 2014].
7. ฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. “ดูกใส
ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: copper.msu.ac.th/plant/. [12 ก.พ. 2014].
8. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
“ขันทองพยาบาท”. อ้างอิงใน:
หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2 และ 3, หนังสือไม้ต้นในสวน Tree
in the Garden. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [12 ก.พ. 2014].
9. ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ, สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “ขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: biodiversity.forest.go.th. [12 ก.พ. 2014].
10. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
“กวาวเครือแดง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [12 ก.พ. 2014].
11. หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
“ฤทธิ์แก้แพ้ของสารสกัดที่ได้จากเปลือกของต้นขันทองพยาบาท”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th. [12 ก.พ. 2014].
12. Medthai.co “ขันทองพยาบาท
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นขันทองพยาบาท 25 ข้อ !”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ขันทองพยาบาท/
[15/04/2019]
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
Ahmad Fuad Morad), เว็บไซต์ phargarden.com (by Sudarat
Homhual)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น