ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alyxia
reinwardtii Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Alyxia reinwardtii
var. lucida (Wall.) Markgr., Alyxia nitens Kerr หรืออาจได้จากต้นชะลูดช่อสั้น
Alyxia schlechteri H.Lév.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE)
สมุนไพรชะลูด มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า ลูด (ปัตตานี), ชะนูด (สุราษฎร์ธานี),
ขี้ตุ่น ช้างตุ่น ต้นธูป (ภาคอีสาน), ชะลูด
(ตราด, ภาคกลาง), นูด (ภาคใต้),
ชะรูด (ไทย) เป็นต้น
ลักษณะของต้นชะลูด
ต้นชะลูด
จัดเป็นพรรณไม้เถาขนาดเล็ก ลำต้นเกลี้ยง เปลือกต้นเป็นสีดำ
ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าดิบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และทางภาคใต้
เถาชะลูด
ชะลูดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างดำและเกลี้ยง มียางสีขาวขุ่น
เถาที่เก็บมาแล้วจะต้องนำมาทุบเพื่อลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง
แล้วลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่นไม้มาใช้เป็นยาโดยนำมาผึ่งให้แห้ง
เปลือกไม้ก็จะม้วนเป็นแผ่นบาง ๆ มีสีขาว กลิ่นหอมมาก รสหอมเย็นและสุขุม
ใบชะลูด
ใบเป็นใบเดี่ยว จะออกรอบข้อ ข้อละ 3 ใบ
ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นครีบ
ส่วนขอบใบม้วนลง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร
และมีความยาวประมาณ 3.5-9 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนเป็นมัน
เนื้อใบหนาและแข็ง มีก้านใบยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร
ดอกชะลูด
ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อละประมาณ 4-10 ดอก
ดอกมีกลิ่นหอม (ดอกจะเริ่มหอมตอนพลบค่ำ และจะเริ่มหอมแรงในตอนกลางคืน)
เป็นสีเหลือง ดอกมีใบประดับที่มีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบประดับจะแหลม
มีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
ส่วนกลีบรองกลีบดอกจะมีอยู่ประมาณ 5 กลีบ
เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
โคนกลีบติดกันเป็นท่อยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร
ส่วนตรงคอท่อจะแคบและมีขน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
โดยจะติดอยู่ภายในใกล้กับปากท่อดอก ก้านเกสรมีขนาดสั้นมาก
ส่วนท่อเกสรเพศเมียจะมีลักษณะยาวเรียว ส่วนรังไข่นั้นจะมีอยู่ 2 ช่อง โดยจะแยกออกจากกัน
ผลชะลูด
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรี มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
เมื่อผลแห้งจะแข็ง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของชะลูด คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล:
1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
“ชะลูด”. หน้า 251-252.
2. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะลูด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com.
[12 ก.ย. 2014].
3. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ชะลูดช่อสั้น”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.
[12 ก.ย. 2014].
4. Medthai.co “ชะลูด
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นชะลูด 19 ข้อ !”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ชะลูด/
[15/04/2019]
5. ภาพประกอบ : www.flickr.com
(by Yeoh Yi Shuen), www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual), paro6.dnp.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น