พลู
ชื่อสามัญ Piper betle Linn.
ชื่อวงศ์ Fam.
: PIPERACEAE
ชื่ออื่น พลูจีน , พลูเหลือง, พลูทอง, พลูทางหลาง , พลูเขียว ,ปู
(เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้นเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยยาว ก่อนที่
จะปลูกพรรณไม้นี้ต้องหาค้างให้มันยึดเกาะ และจะมีรากเป็นกระจุกออกมาตามเถา
สามารถจับแน่น กับสิ่งที่มันยึดเกาะอยู่
- ใบ
เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะเป็นสีเขียว
และใบแก่สีจะเข้มขึ้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 ซม.
จะออกตามเถาบริเวณตา ใบ
จะมีกลิ่นฉุน พลูนั้นจะมีหลายชนิดคือพลูจีน พลูเหลือง พลูเขียว และพลูทองหลาง
- รากพลูรากใต้ดินของพลู
เป็นระบบรากฝอย (ต้นจากการปักชำ) โดยพลูประกอบด้วยราก 2
ชนิด คือ รากหาอาหาร และรากยึดเกาะ
โดยรากยึดเกาะบางครั้งเรียกว่า รากตุ๊กแก
แตกออกตามข้อของลำต้นเพื่อยึดเกาะวัสดุสำหรับช่วยพยุงลำต้นเลื้อยขึ้นที่สูงได้
และทำให้ลำต้นไม่หลุดร่วงลงสู่พื้นได้ง่าย
ส่วนรากใต้ดินประกอบด้วยรากขนาดใหญ่
และรากแขนงที่แตกออกเป็นวงกว้างตามขนาดทรงพุ่ม
- ลำต้นพลูเป็นไม้เลื้อย ลำต้นเป็นปล้อง
และมีข้อ ขนาดลำต้น 2.5-5
ซม.
ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ และมีร่องเล็กๆสีน้ำตาลอมแดงตามแนวยาวของลำต้น
สันร่องมีสีเขียว โดยลำต้นส่วนปลายจะมีสีเขียว
ส่วนลำต้นส่วนต้นจะมีสีเขียวอมเทา
- ดอกพลู มีสีขาว ออกรวมกันเป็นช่อ มีช่อดอกแบ่งเพศกันอยู่คนละต้น
ประกอบด้วยช่อดอกตัวเมีย และดอกตัวผู้ มีใบประดับดอกขนาดเล็กรูปวงกลม
ช่อดอกตัวผู้ยาว 2-12 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1.5-3
ซม. ประกอบด้วยเกสรตัวผู้ 2 อัน มีขนาดสั้นมาก
ส่วนช่อดอกตัวเมียมีความยาวเท่ากับช่อดอกตัวผู้ แต่มีก้านช่อดอกยาวกว่า
ดอกมักบานไม่พร้อมกัน จึงทำให้ไม่ค่อยพบเห็นผลของพลู เพราะมีโอกาสผสมเกสรน้อย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของพลู คลิกที่นี้
แหล่งอ้างอิง
1. บุษบาวดี
พุทธานุ, 2540. สารต้านเชื้อราและฆ่าลูกน้ำยุงจากใบพลู.
3. ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2523. ก้าวไปกับสมุนไพร
เล่ม 2. ธรรมกมลการพิมพ์.
4. ปิยะวดี
เจริญวัฒนะ, 2550. การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพจากสารสกัดจากสะค้านและพลูในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราบางชนิด
5..https://puechkaset.com/พลู
/เข้าถึงออนไลน์ได้จาก https://puechkaset.com/พลู // [15
/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น