หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry)
ชื่อสามัญ : Mulberry
tree, White Mulberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morus
alba Linn. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
สมุนไพรหม่อน
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มอน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน), ซึงเฮียะ ซึงเอียะ (จีนแต้จิ๋ว), ซางเย่ (จีนกลาง)
เป็นต้น[2],[3]
หม่อนที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ได้แก่ หม่อนที่ปลูกเพื่อรับประทานผล (ชื่อสามัญ Black
Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L.) ชนิดนี้ผลจะโตเป็นช่อ
เมื่อสุกผลจะเป็นสีดำ มีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทาน ทำแยม หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ ส่วนอีกชนิดนั้นก็คือ หม่อนที่ใช้ปลูกเพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก (ชื่อสามัญ White
Mulberry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L.) เป็นชนิดที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ครับ
ชนิดนี้จะมีใบใหญ่และออกใบมากใช้เป็นอาหารของไหมได้ดี ส่วนผลจะออกเป็นช่อเล็ก
เมื่อสุกแล้วจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ครับ แต่ไม่เป็นที่นิยมสักเท่าไหร่
ลักษณะของหม่อน
ต้นหม่อน
เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีนตอนใต้ แถบเทือกเขาหิมาลัย
แต่ภายหลังได้มีกรนำเข้ามาปลูกในอินโดจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ
โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 2.5
เมตร บางพันธุ์สูงได้ประมาณ 3-7 เมตร
แตกกิ่งก้านไม่มากนัก เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดง สีขาวปนสีน้ำตาล
หรือสีเทาปนขาว ส่วนเปลือกรากเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหลือแดง
มีเส้นร้อยแตกที่เปลือกผิว พบได้ทั่วไปในป่าดิบ
ในประเทศไทยปลูกกันมากทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ใบหม่อน
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมยาว
โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจหรือค่อนข้างตัด ขอบใบเรียบหรือหยักเว้าเป็นพู
(ขึ้นอยู่กับสาพันธุ์ที่ปลูก) ใบอ่อนขอบใบจักเป็นพูสองข้างไม่เท่ากัน
ขอบพูจักเป็นซี่ฟัน ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-14 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้มเรียบเงา
ท้องใบเป็นสีเขียวอ่อน ใบค่อนข้างหนา หลังใบสากระคายมือ เส้นใบมี 3 เส้น ออกจากโคนยาวไปถึงกลางใบ และเส้นใบออกจากเส้นกลางใบอีก 4 คู่ เส้นร่างแหเห็ดได้ชัดเจนจากด้านล่าง ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 1-1.5
เซนติเมตร มีหูใบเป็นรูปแถบแคบปลายแหลม ยาวได้ประมาณ 0.2-0.5
เซนติเมตร
ดอกหม่อน
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน
ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงกระบอก ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียจะอยู่ต่างช่อกัน
ดอกย่อยมีขนาดเล็ก วงกลีบรวมเป็นสีขาวหม่นหรือเป็นสีขาวแกมสีเขียว
ช่อดอกเป็นหางกระรอก ยาวได้ประมาณ 2 เซนติเมตร
ดอกเพศผู้ วงกลีบรวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ส่วนดอกเพศเมีย
วงกลีบรวมมีแฉก 4 แฉก เกลี้ยง ขอบมีขน เมื่อเป็นผลจะอวบน้ำ
รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน
ผลหม่อน
เป็นผลที่เกิดจากช่อดอก ผลเป็นผลรวมอยู่ในกระจุกเดียวกัน โดยจะออกตามซอกใบ
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร
ผลเป็นสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงเข้มหรือสีม่วงดำ เกือบดำ
เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ และมีรสหวานอมเปรี้ยว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของหม่อน คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “หม่อน (Mon)”. หน้า 327.
2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา
บุญวรพัฒน์). “หม่อน”. หน้า 618.
3. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์
เกิดดอนแฝก). “หม่อน” หน้า 194-195.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หม่อน”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [22 ก.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
“หม่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [22 ก.ค. 2014].
6. สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
“หม่อน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/kpb.htm.
[22 ก.ค. 2014].
7. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (อุไรวรรณ
นิลเพ็ชร์). “หม่อน ( Mulberry ) :
พืชมากประโยชน์”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rdi.ku.ac.th/kufair50/. [22 ก.ค. 2014].
8. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (นายวิโรจน์ แก้วเรือง
ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม).
“หม่อน & ไหม... พืชและเส้นใยแห่งอนาคต”.
9. International Journal of Pharmacy &
Pharmaceutical Sciences. (BANDNA DEVI,
NEHA SHARMA, DINESH KUMAR, KAMAL JEET).
“MORUS ALBA LINN: A PHYTOPHARMACOLOGICAL REVIEW”. (2013), 5.
10. Indianjournal of pharmacology. (Yadav AV, Kawale LA, Nade VS). “Effect of Morus alba L. (mulberry) leaves on
anxiety in mice”. (2008), 40(1), 32.
11. Pakistan Journal of Nutrition. (M.O. Omidiran, R.A. Baiyewu, I.T. Ademola,
O.C. Fakorede, E.O. Toyinbo, O.J. Adewumi, E.A. Adekunle). “Phytochemical analysis, nutritional
composition and antimicrobial activities of white mulberry (Morus alba)”. (2012), 11(5), 456-460.
12. Pakistan journal of pharmaceutical. (Bharani SE1, Asad M, Dhamanigi SS,
Chandrakala GK.). “IMMUNOMODULATORY
ACTIVITY OF METHANOLIC EXTRACT OF MORUSALBA LINN.(MULBERRY) LEAVES”. (2010).
13. Medthai.co “หม่อน
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหม่อน ใบหม่อน 50 ข้อ !” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/หม่อน/ [16/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น