หน้าเว็บ

คนทา

คนทา
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
สมุนไพรคนทา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆขี้ตำตา (เชียงใหม่)หนามกะแท่ง(เลย)โกทา หนามโกทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จี้ จี้หนาม หนามจี้ สีเตาะสีเดาะ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ)คนทา (ภาคกลาง)กะลันทาสีฟัน สีฟันคนทา สีฟันคนตาย (ทั่วไป), มีซีมีชี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของคนทา
ต้นคนทา จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถาหรือเป็นไม้พุ่มเลื้อยทอดเกาะเกี่ยวขึ้นไป มีความสูงได้ประมาณ 3-6 เมตร ลำต้นจะมีขนาดโตเท่ากับต้นหมาก เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล และมีหนามแหลมและสั้นตลอดทั้งลำต้นและตามกิ่งก้าน พรรณไม้ชนิดนี้มีเขตกระจายพันธุ์ตั้งแต่จีนตอนใต้ลงไปถึงมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยมักพบขึ้นทั่วไปในป่าตามธรรมชาติ ทนความแห้งแล้งได้ดี พบมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางภาคเหนือ โดยจะพบได้ตามที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าละเมาะ และป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 900 เมตร และสามารถขยายพันธุ์โดยวิธีการใช้เมล็ด




ใบคนทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 11-15 ใบ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมนถึงแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเป็นหยักแบบห่าง ๆ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีแดง ก้านใบร่วมเป็นปีกแผ่ขยายออกแคบ ๆ และใบมีรสขม,


ดอกคนทา ออกดอกเป็นช่อ ดอกย่อยมีขนาดประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ภายในมีแป้นดอก ดอกย่อยด้านนอกเป็นสีแดงแกมม่วง ส่วนด้านในเป็นสีนวล กลีบดอกและกลีบดอกมีกลีบอย่างละ 4-5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน,




ผลคนทา ผลมีลักษณะค่อนข้างกลม เบี้ยว และฉ่ำน้ำ ผิวผลเรียบเนียนคล้ายแผ่นหนัง ผลอ่อนเป็นสีเขียวอ่อน เนื้อผลค่อนข้างแข็ง ภายในผลมีเมล็ดเดี่ยว เมล็ดแข็งเป็นสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นคนทา คลิกที่นี่


แหล่งข้อมูล : หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5.  “คนทา”.  (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  หน้า 158.
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “คนทา (Khontha)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 72.
หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  “คนทา”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  หน้า 83.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “คนทา”.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 117.
สมุนไพรในร้านยาโบราณ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.  “คนทา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.msu.ac.th.  [13 ก.พ. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน).  “กะลันทาสีฟันไม้หนามคนทาสีฟันคนทา”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [13 ก.พ. 2014].
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 3
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, กรมวิชาการเกษตร.  “คนทา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doa.go.th/hrc/chumphon/.  [13 ก.พ. 2014].
GotoKnow.  “ยาห้าราก ( แก้วห้าดวง เบญจโลกะวิเชียร ) ยาเย็น แก้ไข้ร้อน ในเด็ก ผู้ใหญ่”.  (นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.gotoknow.org.  [13 ก.พ. 2014].
พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม.  “คนทา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th.  [13 ก.พ. 2014].
มูลนิธิสุขภาพไทย.  “หนามโกทา รักษาฟัน”., “Herbal tooth brush รักษาฟัน และฝึกสติ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thaihof.org.  [13 ม.ค. 2014].
medthai.com." 27 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคนทา ! (ต้นโกทา)".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/คนทา [14/04/2019]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น