พริกขี้หนู
ชื่อสามัญ: Bird pepper, Chili
pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper,
ชื่อวิทยาศาสตร์: Capsicum annuum
L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens L.,
Capsicum frutescens var. frutescens, Capsicum minimum Mill.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ
(SOLANACEAE)
พริกขี้หนู มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ: พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง
(ภาคเหนือ), หมักเพ็ด (ภาคอีสาน), พริก พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า (ภาคกลาง), ดีปลีขี้นก
พริกขี้นก (ภาคใต้), พริกมะต่อม (เชียงใหม่), ปะแกว (นครราชสีมา), มะระตี้ (สุรินทร์),
ดีปลี (ปัตตานี), ครี
(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร), ลัวเจียะ (จีนแต้จิ๋ว), ล่าเจียว (จีนกลาง), มือซาซีซู, มือส่าโพ เป็นต้น,
ลักษณะของพริกขี้หนู
ต้นพริกขี้หนู มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก
ที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 1-3
ปี แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว
เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง
ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
ใบพริกขี้หนู ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปกลมรี
หรือรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4
เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร
แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวมันวาว ก้านใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
ดอกพริกขี้หนู ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก
มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว
สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน โดยจะขึ้นสลับกับกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน (อีกข้อมูลระบุว่า เกสรเพศเมียมี 2 อัน) และมีรังไข่ประมาณ
2-3 ห้อง
ผลพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาวรี ปลายผลแหลม ออกในลักษณะหัวลิ่มลง
(แต่โดยปกติแล้วผลอ่อนมักชี้ขึ้น เมื่อแก่แล้วจะชี้ลง) ผลมีขนาดกว้างประมาณ 3-5
มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ผลเป็นผลสดสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล
ลักษณะของผลมีผิวลื่น ภายในผลกลวงและมีแกนกลาง รอบ ๆ
แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก
เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด เมล็ดมีขนาดประมาณ 3
มิลลิเมตร
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นพริกขี้หนู คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล : หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน
150 ชนิด. (เภสัชกรหญิง
จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก). “พริกขี้หนู”.
หน้า 113-114.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.
(คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “พริกขี้หนู Cayenne Pepper”. หน้า 72.
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. (ดร.วิทย์
เที่ยงบูรณธรรม). “พริกขี้หนู”. หน้า 535-538.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์).
“พริก”. หน้า 368.
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.
“พริกขี้หนู”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : ftp://smc.ssk.ac.th/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/.
[26 ส.ค. 2014].
สารศิลปยาไทย ฉบับที่ ๑๘, สมาคมผู้ประกอบโรคศิลปแผนไทย (เชียงใหม่). “พริกขี้หนู”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.oocities.org/thaimedicinecm/. [26 ส.ค. 2014].
ไทยเกษตรศาสตร์. “พริกขี้หนู สรรพคุณทางยา”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com. [26 ส.ค. 2014].
รายการสาระความรู้ทางการเกษตร
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตหาดใหญ่. “ไผ่และพริก”.
บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร ประจำวันจันทร์ที่ 11
สิงหาคม 2546. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : natres.psu.ac.th. [26 ส.ค. 2014].
หนังสือพิมพ์มติชนบทเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับที่ 452, วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2552. “เจาะตลาด”. (ประสิทธิ์ศิลป์
ชัยยะวัฒนะโยธิน).
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 305 คอลัมน์ : เรื่องเด่นจากปก. (ดร.พัชราณี
ภวัตกุล). “พริกขี้หนู กับปัจจัยเสี่ยง
ของโรคหัวใจและหลอดเลือด”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th. [26 ส.ค. 2014].
หนังสืออาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี.
(จำลองลักษณ์ หุ้นชิ้น, จิรนาฏ
วีรชัยพิเชษฐ์กุล, รุ่งทิพย์ พรหมทรัพย์, อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข). “พริกขี้หนู”.
medthai.com."พริกขี้หนู
สรรพคุณและประโยชน์ของพริกขี้หนูสวน 44 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/พริกขี้หนู [14/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น