ชื่อสามัญ เข็มป่า
ชื่อท้องถิ่น เข็มตาไก่ (เชียงใหม่), เข็มโพดสะมา (ตานี), เข็มดอย (พายัพ) ,เข็มป่า (ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixora Cibdela Craib
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- ต้นเข็มป่า จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร ต้นมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดแผ่กว้างระเกะระกะ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมชมพู เปลือกมีหลุดลอกบ้างเล็กน้อย กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
- ใบเข็มป่า ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามแบบสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-22 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มสีขาว ใบแก่เรียบบางหรือมีขนห่าง ๆ มีก้านใบยาวประมาณ 0.6-3.5 เซนติเมตร
- ดอกเข็มป่า ออกดอกเป็นช่อตั้ง โดยจะออกที่ปลายยอด ช่อดอกเป็นช่อแบบหลวม ๆ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอม มีขนาดประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร บางครั้งแต้มไปด้วยสีม่วงหรือสีเขียวที่ปลายกลีบ ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก
- ผลเข็มป่า
ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือแบนเล็กน้อย มี 2 พู
ผลมีขนาดประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร
ผิวผลเรียบเกลี้ยงและเป็นมัน เนื้อผลบาง
ผลเป็นสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล 2 เมล็ด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของเข็มป่า คลิกที่นี่
แหล่งอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง
- หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “เข็มป่า (Khem Pa)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 67.
- โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “เข็มป่า”.
อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [08 เม.ย. 2014].
- สวนสวรส.
“ไม้พุ่ม3” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.suansavarose.com. [08 เม.ย. 2014].
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
satish nikam, sushantmore94@gmail.com, Shubhada Nikharge,
Plant.Hunter)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น