ชื่อสามัญ Culantro, Long coriander, Sawtooth coriander
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eryngium foetidum L.
จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
ผักชีฝรั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง
หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ (เชียงใหม่, ภาคเหนือ), มะและเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), ผักชีใบเลื่อย (ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ ผักหอมเป (เลย,ขอนแก่น), หอมป้อม หอมเป (ชัยภูมิ), หอมน้อยฮ้อ (อุตรดิตถ์), หอมป้อมเปอะ (กำแพงเพชร)
เป็นต้น
ผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ผักชี
โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก
แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกทั่วโลก เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีใบสีเขียวอ่อน
ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย
และสำหรับวิธีการเลือกซื้อผักชีฝรั่งนั้นให้เลือกซื้อเอาใบที่เขียวสด
ไม่เหลืองและเหี่ยว
เมื่อซื้อมาแล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกผูกให้มิดชิดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผักได้เลย
สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่งนั้นก็มีมากมาย
เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ
วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น
(ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, น.56)
เนื่องจากผักชีฝรั่งนั้นมีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) ในปริมาณที่สูงมากเป็นอันดับ 1 ในตระกูลผักทั้งหลาย
ซึ่งกรดออกซาลิกนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ซึ่งอาการที่พบตามมาก็ได้แก่ อาการปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น
ดังนั้นคุณไม่ควรที่จะบริโภคผักชีฝรั่งในปริมาณมากเกินไปหรือรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
แต่ควรเปลี่ยนไปรับประทานผักชนิดอื่นบ้างสลับกันไป
เพราะมันจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด (ผักแม้จะมีประโยชน์
แต่เราก็ต้องฉลาดบริโภคด้วยนะครับ) และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง
!
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของผักชีฝรั่ง คลิกที่นี่
แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล, ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง,
ห้องปฏิบัติการกองโภชนา กรมอนามัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.)และเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น