โดยสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ หนอนตายหยากเล็ก และหนอนตายหยากใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์: Stemona tuberosa Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์
Roxburghia gloriosa Pers., Roxburghia gloriosoides Roxb., Roxburghia
viridiflora Sm.)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : กะเพียด (ชลบุรี,
ประจวบคีรีขันธ์), ป้งสามสิบ (คนเมือง),
โปร่งมดง่าม ปงมดง่าม (เชียงใหม่), หนอนตายยาก
(ลำปาง), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), กะเพียดหนู, สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ)
เป็นต้น
ส่วนข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ระบุว่ายังมีหนอนตายหยากเล็กอีกชนิด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona
japonica Blume Miq. และมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า
หนอนตายหยากเล็ก, โป่งมดง่าม, ป่ายปู้,
ตุ้ยเย่ป่ายปู้ (จีนกลาง)
ซึ่งตามตำราระบุไว้ว่าสามารถนำมาใช้แทนกันได้
หนอนตายหยากใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona collinsiae Craib และมีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า หนอนตายหยาก, กะเพียดช้าง, ปงช้าง เป็นต้น
ลักษณะของหนอนตายหยากเล็ก
- ต้นหนอนตายหยาก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก กึ่งเถาเลื้อยพัน มักเลื้อยพันกับต้นไม้อื่น
ยาวได้ถึง 10 เมตร และมีความสูงได้ประมาณ 40-60 เซนติเมตร เถามีลักษณะกลม สีเขียว กิ่งที่กำลังจะออกดอกมักจะเลื้อยพัน
มีรากเป็นเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินลักษณะคล้ายกระชาย เป็นรูปกระสวย ออกเป็นกระจุก
เนื้ออ่อนนิ่มมีสีเหลืองขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้เหง้าปักชำ
- ใบหนอนตายหยาก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับบริเวณใกล้กับโคนต้น
และเรียงเป็นคู่ตรงกันข้ามบริเวณกลางต้นหรือยอด ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ
ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเรียบหรือบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย
ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-20
เซนติเมตร แผ่นใบเป็นคลื่น
เส้นใบแตกออกจาโคนใบขนานกันไปด้านด้านปลายใบประมาณ 9-13 เส้น
ก้านใบยาวประมาณ 1.5-7 เซนติเมตร ไม่มีหูใบและกาบใบ
- ดอกหนอนตายหยาก ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจะประมาณ 2-6
ดอก โดยจะออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-8 เซนติเมตร ใบประดับยาว 0.5-1.5 เซนติเมตร
ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 0.5-3 เซนติเมตร กลีบรวมมี 4
กลีบ เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2
กลีบ กลีบเป็นรูปแถบยาวปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร
กลีบชั้นนอกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวอ่อนอมเหลือง
มีลายเส้นสีเขียวแก่หรือม่วงเป็นลายประ
ส่วนกลีบชั้นในเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอมแดง มีลายเส้นประสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 4
อัน ยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร
ก้านเกสรสั้น อับเรณูเป็นสีม่วงยาวประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตร
ปลายมีจะงอยยาวประมาณ 5-12 มิลลิเมตร
ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือฐานวงกลีบรวม ไม่มีก้านเกสร
- ผลหนอนตายหยาก ออกผลเป็นฝักห้อยลงเป็นพวง ปลายฝักแหลม ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3
เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
เมื่อแห้งแล้วจะแตกออกเป็น 2 ซีก
ภายในมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด ประมาณ 10-20 เมล็ด
เมล็ดยาวประมาณ 1-1.7 เซนติเมตร มีปลายเรียวแหลมยาวประมาณ
4 มิลลิเมตร มีก้านเมล็ดยาวประมาณ 8 มิลิลเมตร มีเยื่อหุ้มที่โคนของเมล็ด
ลักษณะของหนอนตายหยากใหญ่
ต้นหนอนตายหยากใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-40
เซนติเมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีรากอยู่ใต้ดินจำนวนมาก
รากเป็นแบบรากกลุ่มอยู่กันพวง ลักษณะคล้ายนิ้วมือ รากเป็นสีเหลืองอ่อนอวบน้ำ
ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
เมื่อถึงฤดูแล้งต้นเหนือดินจะโทรมหมดเหลือแต่รากใต้ดิน
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนใบจึงจะงอกออกมาพร้อมกับออกดอก พบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา
และป่าเบญจพรรณทั่วไป
ใบหนอนตายหยากใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม
โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร
ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบประมาณ 10-15 เส้น
ขนานกัน ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นใบย่อยมาตัดขวาง ก้านใบนั้นยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร ส่วนโคนพองเป็นกระเปาะ
ดอกหนอนตายหยากใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบ ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายมน
กว้างประมาณ 0.25-0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.1-1.2
เซนติเมตร ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมชมพู
มีขนาดไม่เท่ากันเรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายแหลม กว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.9-2 เซนติเมตร
มีเส้นแขนงประมาณ 9-11 เส้น ส่วนชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม กว้างประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.8-1.9 เซนติเมตร
มีเส้นแขนงประมาณ 13-15 เส้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม
โคนเป็นรูปหัวใจขอบเรียบ กว้างประมาณ 0.2-0.3 เซนติเมตร
และยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร ส่วนเกสรเพศเมีย
มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ยาวประมาณ 0.3-0.4 เซนติเมตร
และปลายเกสรเพศเมียมีขนาดเล็ก
ผลหนอนตายหยากใหญ่ ผลค่อนข้างแข็งเป็นสีน้ำตาลและมีขนาดเล็ก
ข้อสังเกต : ความแตกต่างระหว่างหนอนตายหยากเล็กและใหญ่คือ
ลักษณะของใบหนอนตายหยากเล็กจะเป็นรูปหัวใจทรงกลม
ส่วนใบของหนอนตายหยากจะเป็นรูปหัวใจทรงยาว และหนอนตายหยากใหญ่จะมีกลีบดอกใหญ่กว่า
รากอวบใหญ่กว่าหนอนตายหยากเล็ก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นหนอนตายหยาก คลิกที่นี่
แหล้งอ้างอิง : หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.
(ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย
มังคละคุปต์). “หนอนตายหยาก (Non Tai Yak)”.
หน้า 323.
หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.
(คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “หนอนตายหยาก”. หน้า 193.
หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์).
“หนอนตายหยาก”. หน้า 608.
สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด,
สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หนอนตายหยาก”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th/plants_data/herbs/.
[14 ก.ค. 2014].
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “หนอนตายหยาก”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.
[14 ก.ค. 2014].
สำนักคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร.
“ข้อมูลของหนอนตายหยาก”.
กรมวิชาการเกษตร. “หนอนตายหยาก”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: it.doa.go.th/vichakan/. [14 ก.ค. 2014].
โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “หนอนตายหยาก”. อ้างอิงใน:
หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), หนังสือองค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย
เล่ม 3 (สุธรรม อารีกุล, จำรัส
อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง
นันทแก้ว). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [14 ก.ค. 2014].
หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “รากของว่านหนอนตายหยาก”. เข้าถึงได้จาก:
www.medplant.mahidol.ac.th. [14 ก.ค. 2014].
medthai.com."หนอนตายหยาก
สรรพคุณประโยชน์ของต้นหนอนตายหยาก 29 ข้อ!".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/หนอนตายหยาก [09/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น