ชื่อสามัญ : Soap
Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia
concinna (Willd.) DC. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Acacia rugata
(Lam.) Merr., Mimosa concinna Willd.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE
หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE
หรือ MIMOSACEAE)
สมุนไพรส้มป่อย
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ส้มพอดี (ภาคอีสาน), ส้มคอน
(ไทใหญ่), ส้มขอน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), พิจือสะ พิฉี่สะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผ่อชิละ
ผ่อชิบูทู (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แผละป่อย เมี่ยงโกร๊ะ
ไม้ส้มป่อย (ลั้วะ), เบล่หม่าฮั้น (ปะหล่อง) เป็นต้น
ลักษณะของส้มป่อย
ต้นส้มป่อย
จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่มรอเลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยวขึ้นไป
สูงได้ประมาณ 3-6 เมตร
แต่ไม่มีมือสำหรับเกาะเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถามีเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่
เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาล เถาอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง มีขนกำมะหยี่หรือขนสั้นหนานุ่ม
ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมสั้นอยู่ทั่วไปและมีขนหูใบรูปหัวใจ
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำกิ่ง
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นปานกลางถึงน้อย
และชอบแสงแดดมาก ขึ้นทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
มักพบขึ้นตามป่าคืนสภาพ ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ที่ราบเชิงเขา และที่รกร้างทั่วไป
ใบส้มป่อย
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ช่อใบย่อยมีประมาณ 5-10
คู่ ส่วนช่อย่อยมีประมาณ 10-35 คู่ ต่อช่อ
ใบย่อยเรียงตรงข้าม ไม่มีก้านใบย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานขนาดเล็ก
ปลายใบมนหรือแหลม ที่ปลายเป็นติ่งหนามแหลมอ่อนโค้ง โคนใบมนหรือตัด
ส่วนขอบใบหนาเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-3 มิลลิเมตร
และยาวประมาณ 3.5-11.5 มิลลิเมตร แผ่นใบเรียบ
ก้านใบยาวประมาณ 3.6-5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มและหนาแน่น
พบก้อนนูนสีน้ำตาลคล้ายต่อม 1 อัน อยู่ที่โคนของก้านใบ
แกนกลางยาวประมาณ 6.6-8.5 เซนติเมตร ส่วนก้านใบย่อยสั้นมาก
ยาวได้ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่านั้น
เกลี้ยงและมีขนนุ่มหนาแน่น
ดอกส้มป่อย
ออกดอกเป็นช่อกระจุกรูปทรงกลม โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรืออกตามซอกใบข้างลำต้นประมาณ
1-3 ช่อดอกต่อข้อ มีขนาดประมาณ 0.7-1.3 เซนติเมตร มีดอกประมาณ 35-45 ดอก
ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2.5-3.2 มิลลิเมตร มีขนนุ่มหนาแน่น มีใบประดับดอก 1 อัน
ลักษณะเป็นรูปแถบ ความยาวไม่เกิน 1 มิลลิเมตร โคนสอบเรียว สีแดง
มีขนกระจายอยู่ทั่วไป ดอกย่อยมีขนาดเล็กอัดกันแน่นอยู่เป็นแกนดอก
กลีบดอกเป็นหลอดสีขาวนวล กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ
หลอดกลีบกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร
ปลายแหลมเป็นสีแดง หรืออาจมีสีขาวปนบ้างเล็กน้อย ส่วนกลีบดอก
หลอดกลีบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3.5-4 มิลลิเมตร
มีขนบ้างเล็กน้อยที่ปลายกลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 200-250 อัน โดยยาวประมาณ 4-6
มิลลิเมตร ส่วนเกสรเพศเมีย รังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีออวุลประมาณ 10-12 ออวุล
ก้านรังไข่ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านและยอดเกสรเพศเมียยาวประมาณ 2.5-3.5
มิลลิเมตร เป็นสีขาวอมเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง
โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผลส้มป่อย
ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนยาว ผิวฝักเป็นลอนคลื่นเป็นข้อ ๆ
ตามเมล็ด ปลายฝักมีหางแหลม สันฝักหนา ผิวฝักขรุขระหรือย่นมากเมื่อแห้ง
ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 1.3-1.4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-9.3 เซนติเมตร
ฝักอ่อนเปลือกเป็นสีเขียวอมแดง
เมื่อแก่แล้วฝักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลดำ ก้านฝักยาวประมาณ 2.8-3
เซนติเมตร ในแต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 5-12 เมล็ด
เมล็ดส้มป่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงแบนรี สีดำผิวมัน มีขนาดกว้างประมาณ 4-5 มิลลิเมตร
และยาวประมาณ 7-8 มิลลิเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
ฝักมีสารในกลุ่มซาโปนินสูงถึง 20% เมื่อนำมาตีกับน้ำจะเกิดฟอง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของส้มป่อย คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล :
1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). “ส้มป่อย (Som
Poi)”. หน้า 282.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ส้มป่อย”.
หน้า 33.
3. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด. (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์
เกิดดอนแฝก). “ส้มป่อย” หน้า 178.
4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com. [28 ก.ค. 2014].
5. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
“ส้มป่อย”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.thaicrudedrug.com. [28 ก.ค. 2014].
6. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง,
สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). “ส้มป่อย, ส้มป่อยป่า”. อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
(เต็ม สมิตินันทน์)., หนังสือสารานุกรมสมุนไพร :
รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)., หนังสือพืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน
ฉบับสมบูรณ์ (พงษ์ศักดิ์ พลเสนา)., หนังสือสมุนไพรไทยตอนที่ 7
(ก่องกานดา ชยามฤต, ลีนา ผู้พัฒนพงศ์). [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th. [28 ก.ค. 2014].
7. พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ กรมหม่อนไหม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. “ส้มป่อย”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: qsds.go.th.
[28 ก.ค. 2014].
8. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม . “ส้มป่อย”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:www.dnp.go.th.
[28 ก.ค. 2014].
9. ฐานข้อมูลความปลอดภัยของสมุนไพรที่มีการขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณ,
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. “ส้มป่อย”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.medplant.mahidol.ac.th/poisonpr/. [28 ก.ค. 2014].
10. สถาบันการแพทย์แผนไทย. “ส้มป่อย”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th. [28 ก.ค. 2014].
11. เทศบาลเมืองทุ่งสง. “ส้มป่อย”
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tungsong.com. [28 ก.ค. 2014].
12. มูลนิธิหมอชาวบ้าน. นิตยสารหมอชาวบ้าน
เล่มที่ 365 คอลัมน์: เรื่องเด่นจากปก. (ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร). “ส้มป่อย สุดยอดผักเพิ่มภูมิคุ้มกัน
กำจัดพิษกาย พิษใจ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th. [28 ก.ค. 2014].
13. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by
Jayesh Patil, Shubhada Nikharge, btc_flower, Indianature SI, Dinesh Valke),
www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual)
14. Medthai.co “ส้มป่อย
สรรพคุณและประโยชน์ของส้มป่อย 46 ข้อ !”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ส้มป่อย/
[19/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น