หน้าเว็บ

มะพลับ


มะพลับ
ชื่อสามัญ Bo treeSacred fig tree, Pipal tree, Peepul tree
 ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros malabarica var. siamensis (Hochr.) Phengklai 
(ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Diospyros siamensis Hochr.) จัดอยู่ในวงศ์มะพลับ (EBENACEAE)



สมุนไพรมะพลับ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขะนิง ถะยิง (นครราชสีมา)มะเขื่อเถื่อน (สกลนคร)ตะโกสวน ปลาบ (เพชรบุรี)ตะโกไทย (ภาคกลาง)ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่ (ทั่วไปเรียก)มะสุลัวะ (ลำปาง-กะเหรี่ยง) เป็นต้น
ข้อควรรู้ : ต้นมะพลับเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง
ลักษณะของมะพลับ




  • ต้นมะพลับ มีถิ่นกำเนิดในป่าดงดิบของประเทศไทย อินเดีย และในชวาเกาะเซลีเบส โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือบางทีแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาว ส่วนเนื้อไม้เป็นสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มีน้ำและความชื้นปานกลาง และชอบแสงแดดจัด มะพลับเป็นไม้ป่าดงดิบ พบขึ้นในป่าที่ลุ่มต่ำบริเวณกันชนระหว่างป่าบกและป่าชายเลน ชายป่าพรุ บริเวณชายคลอง ป่าดิบใกล้แหล่งน้ำ ป่าละเมาะริมทะเล และตามเรือกสวนทั่วไป ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 2-30 เมตร (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าประมาณ 50-400 เมตร) ในประเทศไทยพบได้ทางภาคใต้ ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย
  • ใบมะพลับ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมทู่ โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร เนื้อใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบแต่มีสีอ่อนกว่า หรือมีขนประปรายบ้างตามเส้นกลางใบด้านล่าง โดยมีเส้นใบประมาณ 6-12 คู่ แต่ละเส้นมีลักษณะคดงอไปมา พอมองเห็นได้ทั้งสองด้าน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร และมีขนประปราย






  • ดอกมะพลับ ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และมีขนอยู่หนาแน่น มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ยาวประมาณ 7-15 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกดอกเดี่ยว สีเหลือง ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร และมีขนคลุมแน่น ที่โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉกแบบตื้น ๆ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
  • ผลมะพลับ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ที่โคนและปลายผลบุ๋ม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลแผ่กว้างแนบกับส่วนล่างของผล ขอบกลีบเป็นคลื่น ๆ กลีบไม่พับกลับ ผลเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง ผลสุกหรือผลแก่จะค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม เกล็ดเหล่านี้จะหลุดได้ง่าย ภายในมีเมล็ด 8 เมล็ด เป็นสีน้ำตาลดำทรงรีแป้น มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2 เซนติเมตร โดยจะติดผลในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของ มะพลับ  คลิกที่นี้
แหล่งอ้างอิง

1.หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “มะพลับ (Ma Phlap)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 228.
2.สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก.  “มะพลับ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: webhost.cpd.go.th/plkcoop/download/b006.pdf.  [17 พ.ค. 2014].
3.สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร.  “มะพลับ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: minpininteraction.com.  [17 พ.ค. 2014].
4.ศูนย์การเรียนคณิตศาสตร์ Online .  “ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/mc41/.  [17 พ.ค. 2014].
5.สถาบันการแพทย์แผนไทย.  “มะพลับ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th.  [17 พ.ค. 2014].
6.สถาบันการแพทย์แผนไทย.  “ตะโกสวน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: ittm-old.dtam.moph.go.th.  [22 ธ.ค. 2014].
7. Medthai.com “มะนาว สรรพคุณและประโยชน์ของพลับ ”  [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/มะพลับ/ [18/04/2019]





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น