ไพล หรือ ว่านไพล
ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ชื่อสามัญ Phlai, Cassumunar ginger, Bengal root
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber
montanum (J.Koenig) Link ex A.Dietr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Zingiber
cassumunar Roxb., Zingiber purpureum Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง
(ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรไพล
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูขมิ้น มิ้นสะล่าง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ว่านไฟ
ไพลเหลือง (ภาคกลาง), ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ว่านปอบ (ภาคอีสาน) เป็นต้น
ลักษณะของไพล
- ต้นไพล ลักษณะไพลเป็นไม้ล้มลุกมีความสูงประมาณ 0.7-1.5 เมตร
มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกมีสีน้ำตาลแกมเหลือง
เนื้อด้านในมีสีเหลืองถึงสีเหลืองแกมเขียว แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ
โดยจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกันอยู่ เหง้าไพลสดฉ่ำน้ำ รสฝาด เอียด
ร้อนซ่า มีกลิ่นเฉพาะ ส่วนเหง้าไพลแก่สดและแห้งจะมีรสเผ็ดเล็กน้อย
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด แง่ง หรือเหง้า
แต่โดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนของเหง้าเป็นท่อนพันธุ์ในการเพาะปลูก
พรรณไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียแถบประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย
มาเลเซีย และไทย ปลูกกันมากในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี
และสระแก้ว
- ใบไพล ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานแกมรูปหอก ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ
กว้างประมาณ 3.5-5.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 18-35 เซนติเมตร
- ดอกไพล ออกดอกเป็นช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกมีสีนวล มีใบประดับสีม่วง
- ผลไพล ลักษณะของผลเป็นผลแห้งรูปกลม
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของไพล คลิกที่นี้
แหล่งอ้างอิง
1.สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(วว.), เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร
มหาวิทยาลัยมหิดล, การศึกษาสารสกัดจากไพลใช้ทาผิวหนังกันยุงกัด
วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (พันธุ์อุไร, ประคอง)
2. https://medthai.com/ไพล ประโยนชน์และสรรพคุณ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com /ไพล [16/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น