หน้าเว็บ

มะกล่ำต้น


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina  L.
ชื่อวงศ์
 : LEGUMINOSAE – MIMOSOIDEAE
ชื่อสามัญ
 : Red Sandalwood Tree
ชื่ออื่น
 : มะกล่ำตาช้าง , มะหัวแดง , มะโหกแดง , มะหล่าม , มะแค้ก , หมากแค้ก , มะแดง , มะหัวแดง มะโหกแดง , มะกล่ำตาช้าง , บนซี ,ไพ , ไพเงินก่ำ

ไม้ต้น  ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม มักจะเกินครึ่งความสูงของลำต้น ยอดอ่อนมีขนนุ่มเป็นมัน


เปลือก  เปลือกเรียบ  สีน้ำตาลปนเทา หรือน้ำตาลอ่อน อาจมีรอยแตกระแหงเล็ก ๆ บ้าง
ใบ  ประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับ มีก้านแขนง 2 - 6 คู่ ก้านแขนงแต่ละก้านมีใบย่อย 7 - 15 คู่ แผ่นใบย่อยรูปรี แกม รูปขอบขนาน กว้าง 0.6 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 2 - 3.5 เซนติเมตร ปลายใบมน ฐานใบเบี้ยว ดอกเล็กสีขาวนวล ถึงเหลืองอ่อน ออกบนช่อยาวเรียงติดกันแน่นคล้ายหางกระรอก

ผล  เป็นฝักแบนยาวเมื่อแก่ฝักจะบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร แตกเมื่อแห้ง มีเมล็ดสีแดง รูปโล่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 8 มิลลิเมตร

นิเวศวิทยา ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบทั่วไป   เป็นพันธุ์ไม้เบิกนำที่โตเร็วชนิดหนึ่งของป่าดิบแล้ง   ป่าดิบขึ้นและป่าชายหาด มักพบขึ้นทั่ว ๆ ไป ตามที่รกร้างสองฟากทางหลวงทั่วประเทศ    โดยเฉพาะบนพื้นที่ที่เป็นเขาหินปูน

ออกดอก มีนาคม - พฤษภาคม ฝักแก่ มิถุนายน - กรกฎาคม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของมะกล่ำต้น คลิกที่นี่

แหล่งอ้างอิง
  1. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “มะกล่ำต้น”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [14 พ.ค. 2014].
  2. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “มะกล่ำต้น (Ma Klam Ton)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 210.
  3. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “มะกล่ำตาช้าง Red Sandalwood tree”.  หน้า 36.
  4. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ.  “มะกล่ำต้น”.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ).  หน้า 144.
  5. โครงการเผยแพร่ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นบนพื้นที่สูง, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน).  Red sandalwood tree,Coralwood tree, Sandalwood tree, Bead tree”.  อ้างอิงใน: หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: eherb.hrdi.or.th.  [14 พ.ค. 2014].
  6. ศูนย์ปฏิบัติการโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “ไพ, มะกล่ำตาไก่”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.goldenjubilee-king50.com.  [14 พ.ค. 2014].
  7. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Steve & Alison1, Yeoh Yi Shuen, Rain and Dust, poornikannan, Xylopia, Forest and Kim Starr, Ahmad Fuad Morad, Mr. Saiful)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น