ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria
cordata (Dunal) Alston (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guatteria
cordata Dunal) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา
สมุนไพรนมช้าง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ: กาเลียบ
นมควาย (นครศรีธรรมราช), นมแมวใหญ่ (ชุมพร), นมวัว (สุราษฎร์ธานี), กล้วยหมูสัง (ตรัง),
ลาเกาะ (มลายู-นราธิวาส), ชูเบียง
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ลักษณะของนมช้าง
- ต้นนมช้าง จัดเป็นพรรณไม้เถาขนาดใหญ่
สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร เนื้อไม้แข็ง
กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบแสงแดดและน้ำในระดับปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย
ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าดิบชื้น
ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง และตามป่าผสมผลัดใบ
- ใบนมช้าง ใบเป็นเดี่ยว
ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม
โคนใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อยคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-13
เซนติเมตร และยาวประมาณ 14-23 เซนติเมตร
แผ่นใบหนาแข็ง ท้องใบมีขนสีน้ำตาล เส้นใบค่อนข้างถี่ ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีขน
- ดอกนมช้าง ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกประมาณ
1-3 ดอก โดยจะออกบริเวณซอกใบใกล้กับปลายยอด
ดอกเป็นสีแดงเข้ม มีกลีบดอก 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปเกือบกลม
ปลายมน สีแดงเข้ม ยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร
กลีบดอกมีขนทั้งด้านนอกและด้านใน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ
ลักษณะเป็นรูปไข่ กว้างเกือบกลม ปลายมน และมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน
ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวนมาก รูปทรงกลม ปลายมน
ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
- ผลนมช้าง ออกผลเป็นกลุ่ม ๆ มีผลย่อยประมาณ 20-35 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกระบอกแกมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียวอมเหลือง ส่วนผลสุกเป็นสีเหลืองอมส้มหรือสีม่วงแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม
แหล่งอ้างอิง: medthai.com."นมช้าง สรรพคุณและประโยชน์ของต้นนมช้าง 4 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก
https://medthai.com/นมช้าง[09/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น