ต้นแก้ว
ชื่อสามัญ Andaman
satinwood, Chanese box tree, Cosmetic bark tree, Orange jasmine, Orange
jessamine, Satin wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya
paniculata (L.) Jack (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์
Murraya exotica L.) จัดอยู่ในวงศ์ส้ม (RUTACEAE)
ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จ๊าพริก (ลำปาง), แก้วลาย (สระบุรี), แก้วขี้ไก่
(ยะลา), แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ), แก้วขาว
(ภาคกลาง), กะมูนิง (มลายู-ปัตตานี), จิ๋วหลี่เซียง (จีนกลาง) เป็นต้น
ลักษณะของต้นแก้ว
- ต้นแก้ว เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย[7] ในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภาคในป่าดิบแล้งจากที่ราบสูงจนถึงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 400 เมตร[8] โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดเต็มวัน-รำไร และความชื้นปานกลาง-ต่ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอน
- ใบแก้ว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นหรือหยักมนเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร แผ่นใบคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ หลังใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบมีสีอ่อนกว่า ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุนคล้ายผิวส้มเป็นน้ำมันติดมือ
- ดอกแก้ว ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 7-9 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกติดกัน ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
- ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด สีขาวขุ่น เมล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 4-6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6-9 มิลลิเมตร
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นแก้ว คลิกที่นี่
เอกสารอ้างอิง
1.หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคเหนือ. “แก้ว”.
(พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ). หน้า 95.
2.หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “แก้ว (Kaew)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 55.
3.หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “แก้ว”.
(วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 92.
4.สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
“แก้ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th. [06 ก.พ. 2014].
5.ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “แก้ว”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th. [06 ก.พ. 2014].
6.ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ต้นแก้ว”.
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [06 ก.พ. 2014].
7.GRIN (Germplasm Resources Information
Network) Taxonomy for Plants. “Murraya
paniculata (L.) Jack”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ars-grin.gov. [06 ก.พ. 2014].
หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 1.
8.Sangkae's Blog. “Murraya paniculata”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: sangkae.wordpress.com. [06 ก.พ. 2014].
9.medthai.com. “แก้ว
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นแก้ว ดอกแก้ว 32 ข้อ ! “ [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/แก้ว/ [12/04/2019]
ภาพประกอบ : www.flickr.com
(by Oriolus84, pellaea, Vietnam Plants & The USA. plants, CANTIQ UNIQUE,
barryaceae, Duy-Thuong, Lucypassos, the1andtheonly1, majikthise_)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น