ชื่อสามัญ: Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์: Fagraea
fragrans Roxb. วงศ์ดอกหรีดเขา (GENTIANACEAE)
สมุนไพรกันเกรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ: มันปลา (ภาคเหนือ
ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู-ภาคใต้)
เป็นต้น
ข้อควรรู้ : ต้นกันเกราจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์
และยังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยนครพนม
และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดอีกด้วย
ลักษณะของกันเกรา
- ต้นกันเกรา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว
ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ มีถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้กับแหล่งน้ำ
ในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย เวียดนาม และอินเดีย สำหรับในบ้านเราต้นกันเกราขึ้นได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย
แต่จะพบได้มากทางภาคใต้
- ใบกันเกรา ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน
ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6
เซนติเมตรและยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
ผลกันเกรา ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม
มีรสขม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร
ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลม ๆสั้น ๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนจะมีสีเขียว
เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก จะติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
และในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่ม
ๆ สีแดง
- ดอกกันเกรา ลักษณะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ
เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด
ที่กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก
ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นกันเกรา คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน
(เดชา ศิริภัทร), เว็บไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้
องค์การสวนพฤกษศาสตร์, เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
medthai.com."กันเกรา
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นกันเกรา 25 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กันเกรา [13/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น