หน้าเว็บ

กะเม็ง



ชื่อสามัญ: False daisy, White head, Yerbadetajo herb มีชื่อเครื่องยาว่า Herba Ecliptae
ชื่อวิทยาศาสตร์: Eclipta prostrata (L.) L. จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE) เช่นเดียวกับกะเม็งตัวผู้
สมุนไพรกะเม็ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ: กะเม็งตัวเมีย กาเม็ง คัดเม็ง (ภาคกลาง)หญ้าสับ ฮ่อมเกี่ยว ห้อมเกี้ยว (ภาคเหนือ), บังกีเช้า (จีน), ฮั่นเหลียนเฉ่า (จีนกลาง), บักอั่งเน้ย, อั่วโหน่ยเช่า, เฮ็กบักเช่า (จีน-แต่จิ๋ว) เป็นต้น
กะเม็ง มีทั้ง "กะเม็งตัวผู้" และ "กะเม็งตัวเมีย" จำกันง่าย ๆ ก็คือ กะเม็งตัวผู้ดอกมีสีเหลืองใหญ่ ส่วนกะเม็งตัวเมียดอกมีสีขาวและมีขนาดเล็ก และในบทความนี้เราจะพูดถึงเฉพาะกะเม็งตัวเมียครับ
ลักษณะของกะเม็ง

  • ต้นกะเม็ง จัดเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่ทอดไปตามพื้นตั้ง มีความสูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงและมีขนละเอียด บางต้นค่อนข้างเกลี้ยง และจะแตกกิ่งก้านที่โคนต้น,,,





  • ใบกะเม็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปหอกเรียวยาว ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบเป็นรอยเว้าเข้าเล็กน้อยทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบหรือเป็นจักห่าง ๆ ประมาณ 2-3 จักช่วงปลายใบ ขอบใบทั้งสองด้านมีขนสั้น ๆ สีขาว ใบกว้างประมาณ 0.8-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร ก้านใบไม่มี (ถ้าเกิดในที่แห้งแล้งใบจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้นมีน้ำมากใบจะใหญ่) 



  • ดอกกะเม็ง ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวที่บริเวณยอด หรือ 1-3 ช่อบริเวณง่ามใบ ดอกวงนอกรูปลิ้น เป็นดอกเพศเมีย มีประมาณ 3-5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ส่วนดอกวงในกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ที่ปลายแยกเป็นกลีบ 4 กลีบ มีสีขาวและเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศ ส่วนก้านดอกเรียวยาว มีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร,




  • ผลกะเม็ง ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีเหลืองปนดำ เมื่อนำมาขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ส่วนผลแก่แห้งมีสีดำไม่แตก ปลายผลมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ขนาดของผลยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของต้นกะเม็ง คลิกที่นี่

แหล่งอ้างอิง: สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  "กะเม็ง".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.  [7 ธ.ค. 2013].

มูลนิธิหมอชาวบ้าน.  นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 7 คอลัมน์: สมุนไพรน่ารู้.  "กะเม็งตัวเมีย".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.doctor.or.th.  [7 ธ.ค. 2013].
ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.  "กะเม็ง สมุนไพรที่ไม่ควรมองข้าม".  (รศ.ดร.สนั่น ศุภธีรสกุล ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: herbal.pharmacy.psu.ac.th.  [7 ธ.ค. 2013].
อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.  "กะเม็ง".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.pharmacy.mahidol.ac.th.  [7 ธ.ค. 2013].
หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).
ผู้จัดการออนไลน์.  "วิจัย กะเม็ง-กระชาย มีฤทธิ์ต้านไวรัส HIV".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.manager.co.th.  [7 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลโครงงานวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด สสวท..  โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์.  "การทำหมึกโรเนียวจากกะเม็ง".  (มัธยมต้น ชนะเลิศประกวดรางวัลที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาคเหนือตอนล่าง ปี 2545).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: elib.ipst.ac.th.  [7 ธ.ค. 2013].
สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้.  "อั่วโหน่ยเช่า".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: tcm.dtam.moph.go.th.  [7 ธ.ค. 2013].
Zhang Y, Lin ZB. Herba Ecliptae: mo han lian In: Wang BX, Ma JK, Zheng WL, Qu SY, Li R, Li YK (eds.). Modern study of pharmacology in traditional Chinese medicine. 2nd ed. Tianjin: Tianjin Science & Technology Press, 1999.
Institute of Medicinal Plant Development and Institute of Materia Medica, Chinese Academy of Medicinal Sciences. Chinese Materia Medica. Vol. IV. 2nd ed. Beijing: Renmin Weisheng Publishing House, 1988.
ภูมิปัญญาอภิวัฒน์.  "กะเม็งสมุนไพรดูแลตับไตหัวใจ ห้ามเลือด แก้บิด ผมหงอกเร็ว".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.budmgt.com.  [7 ธ.ค. 2013].
ฟาร์มเกษตร.  "สมุนไพรกะเม็ง".  อ้างอิงใน: thrai.sci.ku.ac.th/node/936.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.farmkaset.org.  [7 ธ.ค. 2013].
"กะเม็งตัวเมีย ยอดยาดีหมอพื้นบ้าน".  (จำรัส เซ็นนิล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net.  [7 ธ.ค. 2013].
ฐานข้อมูลการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  "พฤกษเคมี และการยับยั้งการเกิดออกซิเดชันในเบื้องต้นของกะเม็ง".  (พจมาน พิศเพียงจันทร์, สรัญญา วัชโรทัย, อุไรวรรณ ดิลกคุณานันท์, อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: kucon.lib.ku.ac.th.  [7 ธ.ค. 2013].
medthai.com."กะเม็ง สรรพคุณและประโยชน์ของกะเม็ง 75 ข้อ ! (กะเม็งตัวเมีย)".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กะเม็งตัวเมีย [13/04/2019]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น