ชื่อสามัญ : Devil
tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia
scholaris (L.) R. Br. จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยระย่อม (RAUVOLFIOIDEAE)
สมุนไพรพญาสัตบรรณ
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หัสบัน สัตบรรณ สัตตบรรณ จะบัน บะซา ปูลา ปูแล ตีนเป็ด
ตีนเป็ดขาว ตีนเป็ดไทย ต้นตีนเป็ด เป็นต้น
ลักษณะของพญาสัตบรรณ
ต้นพญาสัตบรรณ
มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง
แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20
เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล
เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย
ดอกพญาสัตบรรณ
ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น
หนึ่งช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว
มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ
ผลพญาสัตบรรณ
ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียว
มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้
ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับประโยชน์และสรรพคุณของพญาสัตบรรณ คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), เว็บไซต์สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม, เว็บไซต์โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์, เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง
จังหวัดเชียงใหม่
Medthai.co “พญาสัตบรรณ
สรรพคุณประโยชน์ของต้นพญาสัตบรรณ 29 ข้อ ! ” [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/พญาสัตบรรณ/ [13/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น