หน้าเว็บ

ย่านพาโหม


ย่านพาโหม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Paederia scandens (Lour.) Merr.
ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Paederia tomentosa var. glabra Kurz
จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)[1]

สมุนไพรย่านพาโหม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เถาผ้าห่ม (ประจวบคีรีขันธ์), มันปู (สงขลา), ตดหมา ปานูดู (ภาคเหนือ) ส่วนทางสุราษฎร์ธานีเรียก "ย่านพาโหม"[1],[2]

ลักษณะของย่านพาโหม

  • ต้นย่านพาโหม จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยพัน อายุหลายปี มีกลิ่นเหม็นฉุน ลำต้นมีลักษณะเรียวยาว ตามกิ่งมีขนละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุม ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.2-3.5 มิลลิเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและใช้เถาปักชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นในดินที่มีสภาพดินลูกรัง เช่น จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสตูล ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-77 เมตร
ต้นย่านพาโหม
  • ใบย่านพาโหม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปใบหอก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนละเอียดทั้งสองด้านตามเส้นกลางใบ เส้นใบ และปกคลุมหนาแน่นตามขอบใบ หลังใบมีปุยขนสั้นสีขาวเป็นกระจุก ที่มุมเส้นกลางใบตัดกับเส้นใบ ก้านใบยาวประมาณ 1.8-4.1 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
ใบย่านพาโหม
  • ดอกย่านพาโหม ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีม่วงแดง
ดอกย่านพาโหม
  • ผลย่านพาโหม ผลเป็นผลแห้ง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลแก่เป็นสีน้ำตาล แข็งและเปราะ
ผลย่านพาโหม

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประโยชน์และสรรพคุณของย่านพาโหม คลิกที่นี่


เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรพื้นบ้านล้านนา.  (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  “ย่านพาโหม”.  หน้า 162.
  2. สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์.  “ย่านพาโหม”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : nutrition.dld.go.th.  [29 ต.ค. 2014].
  3. คมชัดลึกออนไลน์.  (นายสวีสอง).  “ย่านพาโหม เป็นยา-อาหาร”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net.  [29 ต.ค. 2014].
  4. medthai.com. “ย่านพาโหม สรรพคุณและประโยชน์ของต้นย่านพาโหม 12 ข้อ !”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/ย่านพาโหม/ [16/04/2019]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น