ชื่อวิทยาศาสตร์: Boesenbergia
pandurata (Roxb.) Schltr., Gastrochilus pandurata (Roxb.) Ridl., Kaempferia
pandurata Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
สมุนไพรกระชายแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ: กระชายป่า, ขิงแคลง, ขิงแดง, ขิงทราย (ภาคอีสาน), ขิงละแอน (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของกระชายแดง
- ต้นกระชายแดง จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออาจเรียกว่า
"หัวกระชาย" หรือ "นมกระชาย" หรือ "กระโปก"
ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง
แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือรากจะเล็กกว่ากระชายเหลือง
มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 30-80 เซนติเมตร เหง้าเรียวยาว
ออกเป็นกระจุก ลักษณะของรากหรือเหง้าสะสมอาหารจะมีลักษณะเป็นแท่งกลม เรียวยาว
พองตรงกลางและฉ่ำน้ำ เหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นหอมอ่อนไม่แรงเหมือนกระชายเหลือง
ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี เป็นที่ร่ม และในช่วงฤดูฝนจะแตกยอดขึ้นเหนือพื้นดิน
หรืออาจเกิดได้ตลอดทั้งปีหากดินมีความชื้นสูง ส่วนกาบใบมีลักษณะซ้อนกันหลายชั้น
มีสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อสามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ
- ใบกระชายแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว
ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปใบแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบขนาน
มีความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-30
เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเรียบและเป็นมัน ก้านใบเป็นร่อง
มีลิ้นใบบางใสที่ส่วนบนของกาบใบ โคนกาบใบและหลังใบมีสีแดงเรื่อ ๆ
ส่วนที่กาบใบที่ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มลำต้นและหลังใบด้านล่าง
- ดอกกระชายแดง ดอกออกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะยื่นยาวโผล่ขึ้นมาจากกลางยอดระหว่างใบ
โดยจะโผล่เฉพาะส่วนที่เป็นกลีบดอกและส่วนของใบประดับ ดอกมีใบประดับหุ้มช่อดอก
กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 3 หยักสั้น
ๆ บางใส ส่วนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว กลีบดอกมีสีชมพูอ่อน 3 กลีบ กลีบด้านบนมี 1 กลีบ
ลักษณะเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มีสีชมพูอ่อนถึงสีชมพู
ส่วนกลีบด้านล่างมี 2 กลีบ จะอยู่บริเวณใต้กลีบปาก
ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก มีปลายแหลม มีสีชมพูอ่อน ๆ ส่วนเกสรตัวผู้
ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนปลายยอดกลีบดอกจะมี 3 หยักแยกจากกัน
โดยหยักบนจะมี 2 หยัก มีขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ
ปลายกลม มีสีชมพูอ่อน ส่วนหยักล่างมี 1 หยัก
มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นรูปไข่กลับ กลางกลีบโค้งคล้ายท้องเรือ ส่วนปลายแผ่ขยายกว้าง
ที่ขอบเป็นลอน พื้นมีสีชมพูมีสีแดงแต้มด้วยสีชมพูเข้ม
ส่วนริมขอบปากเป็นลอนเล็กน้อย ก้านเกสรสั้น ลักษณะโค้งเล็กน้อย
ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีสีขาวแกมชมพูอ่อน
ที่โคนก้านเกสรจะมีต่อม 2 ต่อม ลักษณะเป็นรูปเรียวยาว
และดอกย่อยของกระชายแดงจะทยอยบานทีละดอก
- ผลกระชายแดง ผลแก่มีพู
3 พู และมีเมล็ดอยู่ภายในผล
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (เต็ม สมิตินันทน์),
เว็บไซต์เทคโนโลยีชาวบ้าน, เว็บไซต์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
เว็บไซต์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดพะเยา, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ), สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
medthai.com."กระชาย
สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายเหลือง 49 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กระชาย [12/04/2019]
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
(วว.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th.
[20 พ.ย. 2013].
ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.
"ผักพื้นบ้าน กระชายแดง".
อ้างอิงใน: หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน
(สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข). หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย
(เต็ม สมิตินันทน์). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25.
[20 พ.ย. 2013].
๑๐๘ พรรณไม้ไทย. "ว่านกระชายแดง".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com.
[20 พ.ย. 2013].
ว่านและพรรณไม้สมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร. "กระชายแดง".
[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th.
[20 พ.ย. 2013].
ไทยรัฐออนไลน์. "กระชายแดงกับงานวิจัยใหม่".
โดยนายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th. [20 พ.ย.
2013].
medthai.com."กระชายแดง
สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายแดง 26 ข้อ !".[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/กระชายแดง [12/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น