ชื่อสามัญ : Moringa
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa
oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L.,
Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann) จัดอยู่ในวงศ์
MORINGACEAE
สมุนไพรมะรุม
มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บะค้อนก้อม (ภาคเหนือ), ผักอีฮุม
บักฮุ้ม (ภาคอีสาน) เป็นต้น
มะรุมจัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทยซึ่งเป็นพืชผักสมุนไพรโดยมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย
อย่างประเทศอินเดียและศรีลังกา โดยเป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ปลูกง่ายในเขตร้อน
ทนแล้ง สามารถรับประทานได้ทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นฝัก ใบ ดอก เมล็ด ราก เป็นต้น
แต่ถ้านำมาใช้เป็นยาสมุนไพรนั้นจะใช้เกือบทุกส่วนของต้นมะรุมรวมทั้งเปลือกด้วย
มะรุมอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด
ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม
และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก
นอกจากนี้มะรุมยังมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้หลายชนิด แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรจะมองว่ามะรุมเป็นยามหัศจรรย์ที่ใช้ในการรักษาโรค
แต่ควรจะมองมันเป็นผักพื้นบ้านที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียมากกว่า
เพราะการศึกษาหลายอย่าง ๆ ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย
มะรุมกับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ
มะรุมไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน
เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน
สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน
เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป
เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ความว่ามันจะไม่ปลอดภัย
เพราะคนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารมานานมากแล้ว
ซึ่งสำหรับผู้ที่คิดจะดูแลสุขภาพด้วยการหันไปซื้อมะรุมสกัดแคปซูลมารับประทานนั้น
ก็ควรจะต้องระมัดระวังและควรเลือกซื้อมะรุมแคปซูลที่มี อย.ด้วย
มะรุม ในส่วนของใบมะรุมควรรับประทานใบสด ๆ
ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรถูกความร้อนนานเกินไป
เพื่อให้ได้ประโยชน์ของสารอาหารอย่างเต็มที่
ซึ่งการใช้ใบมาประกอบอาหารสิ่งที่ต้องระวังก็คือ
ไม่ควรให้เด็กทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
เพราะใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง หรือเด็กที่อายุ 3-4 ขวบควรรับประทานแต่เพียงเล็กน้อย
และไม่ว่าจะวัยไหนก็ตามไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเกินไป
เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ (ไม่ได้เกิดกับทุกคน)
ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณและประโยชน์ของมะรุม คลิกที่นี่
แหล่งข้อมูล :
1. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ภญ.สุภาพร
ปิติพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี, นายแพทย์สุรวุฒิ ปรีชานนท์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคกระดูกและข้อ
2. Medthai.co “มะรุม
สรรพคุณและประโยชน์ของมะรุม 78 ข้อ !”
[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/มะรุม/
[18/04/2019]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น