หน้าเว็บ

ดอกชมจันทร์


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea alba L.
ชื่อสามัญ : Moonflower (ดอกชมจัทร์ ดอกพระจันทร์)
ชื่อท้องถิ่น : บานดึก , ดอกพระจันทร์ , แสงนวลจันทร์
วงศ์ : Convolvulaceae

ลักษณะ

เป็นไม้เลื้อยมีลักษณะของใบคล้ายใบยาสูบ เป็นรูปหัวใจ คล้ายใบโพธิ์ สีเหลืองอ่อนอมเขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก เป็นพรรณไม้ที่ชอบแสงแดดเพียงรำไร ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ปลูกขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย มีดอกสีขาวสวยสด จะบานในตอนกลางคืนและ มีกลิ่นหอม นอกจากจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับแล้ว ใบและดอกตูมยังใช้ปรุงอาหาร เช่น ใช้เป็นผักทำห่อหมก ดอกตูมใช้ผัดน้ำมันหอย เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์การปักชำและเพาะเมล็ด

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย ในต่างประเทศเช่น อเมริกา และยุโรป จะปลูกเป็นไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่นภาคใต้ และภาคอีสาน ได้เริ่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหาร โดยนำดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือ นำมาลวกเพื่อจิ้มกับน้ำพริกรับประทาน

สรรพคุณ


คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่า เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบาย มีฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โปรตีน และวิตามินเอ ดอกชมจันทร์จึงเป็นอาหารที่กินได้ทุกเพศทุกวัย วิตามินบีในดอกไม้จีนช่วยให้สมองทำงานได้ดี และเพิ่มความจำ วิตามินซีในดอกชมจันทร์ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ จึงช่วยให้หลับสบาย ดอกชมจันทร์เป็นพืชที่มีแคลอรีต่ำ เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก

ข้อควรระวัง

ดอกชมจันทร์ดอกบานและส่วนรากมีพิษ จึงไม่ควรกิน เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียหรืออาเจียนได้ และก่อนนำดอกชมจันทร์มาประกอบอาหาร ควรล้างให้สะอาด


เอกสารอ้างอิง

  1. Herbs Botany. “ดอกชมจันทร์”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://herbsbotany.blogspot.com/2014/11/blog-post_50.html [20/04/2019]
  2. OKnation blog. “ดอกชมจันทร์”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/surapinyo/2012/10/01/entry-9 [20/04/2019]


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น