หน้าเว็บ

เนียมหอม


ชื่อสามัญ : เนียมหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strobilanthes nivea Bremek
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE เนียมมีทั้ง หมด 8 ชนิด

1. เนียมหอม (เนียมอ้ม , เนียมข้าวเม่า) 
2. เนียมคําพอง (สนั้พร้าหอม)
3. เนียมหูเสือ (หูเสือ)
4. เนียมสร้อย (เล็บครุฑ)
5. เนียมกบ (โหระพาน้ำ)
6. เนียมพนันชั่ง (ทองชั่งพัน)

ประโยชน์ของเนียมหอม

wpid-wp-1444647123187.jpegเนียมหอม นับเป็นไม้ที่คนส่วนใหญ่รู้จักแต่ชื่อ ไม่รู้จักหน้าตา จนคิดว่าเป็นไม้ใกล้สูญ พันธ์ุหรือไม้หายาก การลดน้อยถอยลงของเนียมหอมมีนัยสําคัญที่สอดคล้องกับเครื่องหอม ไทย เพราะเนียมจะนิยมใช้ในเครื่องหอมเป็นหลัก เมื่อความนิยมลดถอยลงจึงดูเหมือนว่าใบ เนียมก็พลอยหายไปด้วย น้ำอบน้ำปรุงที่มีวางจําหน่ายในปัจจุบันจึงมักได้จากเครื่องปรุงที่ไม่ ครบถ้วน หรือใช้กลิ่นสังเคราะห์แทน


เนียมมีหลายชนิด เช่น เนียมหอม ที่นํามาทําเครื่องหอมไทย เนียมอ้ม เนียมหูเสือ ชนิดนี้ใบจะมีกลิ่นฉุน นิยมเอาใบรับประทานกับอาหารประเภทลาบก้อยเพื่อดับกลิ่น และ เนียมสร้อยหรือเล็บครุฑ ซึ่งประเภทนี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปัจจุบันนำยอดอ่อนมา ทานเป็นผัก

wpid-wp-1444610783544.jpegเนียมจัดเป็นไม้ที่มีใบหอม แม้กลิ่นจะคล้ายใบเตย แต่ให้ความหอมที่เข้มกว่า และ รู้สึกถึงความหอมเย็นปนหวานที่ล้ำลึก และมีกลิ่นหอมยาวนานเป็นอาทิตย์ และด้วยความ หอมที่โดดเด่นและหอมนานเมื่อนำมาปรุงในเครื่องหอมไทย จึงทําให้เครื่องหอมไทยมีความ โดดเด่น ไม่ว่าจะทำน้ำอบ น้ำปรุง แป้งร่ำ หรือเครื่องหอมอื่น ๆ แม้เครื่องหอมนั้นจะถูกปรุง ด้วยความหอมจากพืชนานาพรรณ แต่ถ้าขาดเนียมจะรู้ได้เลยทันทีว่าเครื่องหอมนั้นยังไม่ สมบูรณ์ และอาจกล่าวได้ว่าใบเนียมหอมนี่เองที่ทําให้เครื่องหอมไทยมีความหอมที่แตกต่าง จากน้ำหอมอื่น ๆ

การใช้ประโยชน์ของใบเนียมถ้าไม่นำไปทำเครื่องหอมและเข้าเครื่องยา ก็มักจะเด็ด เอาใบไปวางไว้ตามหัวนอน ตู้เสื้อผ้า บางแห่งมีภูมิปัญญาการอบร่าผ้าหอมจากเนียม ทําให้ ผ้ามีกลิ่นหอม กลิ่นหอมของเนียมช่วยให้รู้สึกกถึงความสบายใจ ความปลอดโปร่ง สําหรับการ ใช้ประโยชน์ในแง่ของการปรุงยาจะใช้ใบแห้งชงเป็นชาดื่มแก้หวัด แก้ไข้ แก้ไอ บรรเทาอาการ หอบหืด

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการนําใบเนียมหอมมาใช้ปรุงแต่เครื่องดื่มและยาสูบมวนของ คนสมัยก่อนด้วย โดยเวลาปรุงยาเส้น จะเอาเนียมนาบไฟหรือไม่นาบไฟก็ได้ แล้วอบยาเส้น ในกระป๋องให้หอมกลมกล่อมขึ้น หรือบางทีก็อบไว้ในเต้าปูน กลิ่นเนียมจะไปลดกลิ่นของใบ พลูช่วยให้กินพลูกลิ่นหอมกลมกล่อมขึ้น เวลาเคี้ยวหมากน้ันกลิ่นเนียมจะกรุ่นอยู่ในปาก และใช้ดองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเอาใบเนียมสัก3-4 ใบนาบไฟหรือลนไฟแล้วแช่ลง ไปในเครื่องดื่มนั้น จะทําให้รสชาตินุ่มขึ้น
ใบเนียม จัดเป็นยาสมุนไพรประจําบ้านอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะมีไว้เพราะประจำบ้านเพื่อ จะมีกลิ่นหอมเหมือนกับใบเตย เมื่อขยี้ใบดูจะได้กลิ่นหอมเหมือนใบเตยเลย จึงนิยมนํามาสูด ดมแก้วิงเวียนศีรษะ คนสมัยโบราณเมื่อเข้าป่าจะต้องพกใบเนียมในกระเป๋าเพื่อดูดดม และ นำมาใช้ต้มให้สตรีหลังคลอดร่วมกับสมุนไพรเพื่ออาบหรืออบไอน้ำ และต้มผสมกับยา สมุนไพรอื่นๆ ดื่ม เพื่อให้ร่างกายหอมใบเนียมไม่ได้นำมาทำเครื่องหอม แต่มักนำมาทำลูก ประคบ หรือเข้าตัวยาสำหรับอาบอบ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหอมและลดอาการฟกบวม กระจายเลือดลมได้ดี กลิ่นหอมของใบเนียมช่วยให้สดชื่น สบายเนื้อสบายตัว ใบเนียม ต่างก็ เป็นหนึ่งในอีกพันธ์ุไม้หลายชนิดที่มีกลิ่นหอมและนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง สำหรับ ใบเนียมเป็นพันธ์ุไม้ใกล้ตัวแต่เราไม่ค่อยสนใจกันมากนักในอนาคตอาจสูญพันธ์ุได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ลําต้น เป็นต้นไม้ที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีลําต้นมี
ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมถึงค่อนข้างกลมและเป็นข้อปล้อง เป็นพืชชอบร่มหรือร่มรําไร ชื้นแต่ ไม่แฉะ

ใบ มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กลับ มีขนสากทั่วใบ ปลายใบหยักขอด เป็นติ่งส้นหรือเว้าแหว่งเป็นริ้ว

ใบเนียมจะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย

ช่อดอก ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ เกสรเพศผู้จํานวนมากและล้อมรอบรังไข่


ผล ผลกลมหรือลักษณะเหมือนรูปไข่กลับ ผิวของผลมีขนทั่วไป เมื่อแก่สีเหลือง ออกดอกและติดผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กันยายน

ดอก ออกเป็นช่อยาว 14 – 39 ซม. กลีบ มีสีม่วงอ่อนหรือสีขาว


แหล่งอ้างอิง
  1. warndee.com. “เนียมหอม พืชโบราณมากสรรพคุณควรค่าอณุรักษ์”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://warndee.com/2015/10/13/เนียมหอม-พืชโบราณมากสรร/ [20/04/2019]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น